VEHICLES

เยอรมนี เปิดใช้ โคราเดีย ไอลินท์ รถไฟพลังงานไฮโดรเจน เป็นที่แรกของโลก
POSTED ON 09/10/2561


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

 

ประเทศเยอรมนี เปิดตัวรถไฟขบวน "โคราเดีย ไอลินท์" รถไฟโดยสารขบวนแรกของโลกที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งปัจจุบันมีรถไฟ 2 ขบวนที่วิ่งให้บริการทางเหนือของเยอรมนี เมืองเหล่านี้จะถูกเชื่อมต่อกันด้วยรถไฟที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเนื่องจากไม่มีรางรถไฟที่ปล่อยกระแสไฟฟ้า นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงมีการทดสอบการใช้พลังงานไฮโดรเจน ในฐานะพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

นายสเตฟาน ชังค์ ผู้จัดการโครงการโคราเดีย ไอลินท์ กล่าวว่า โคราเดีย ไอลินท์ เป็นรถไฟขบวนแรกที่สามารถเดินทางที่ไม่ปล่อยไอเสียเลย โดยไม่ใช้พลังงานจากสายไฟ แต่ใช้พลังงานจากเซลเชื้อเพลิงไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนในการสร้างพลังงานไฟฟ้าให้กับรถไฟ

 

นายชังค์ เผยว่า แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจไฮโดรเจน” ที่เชื้อเพลิงต่าง ๆ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกแทนที่ด้วยไฮโดรเจนมีมานานหลายสิบปีแล้ว แต่แนวคิดนี้กลับเป็นไปอย่างช้า ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม รถไฟพลังงานไฮโดรเจนยังคงมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่ารถไฟที่ใช้น้ำมันดีเซล แต่เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานแล้วถือว่าคุ้มค่ากว่า ซึ่งขณะนี้ทางบริษัท อัลสตอม กำลังวางแผนเพิ่มการส่งรถไฟ 14 ขบวน มูลค่า 81 ล้านยูโร หรือราว 3,072 ล้านบาท ไปยังเขตโลเวอร์แซกโซนีในอีก 3 ปีข้างหน้า

 

ขณะที่ นายเยน ฮิลเจนเบิร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนที่จากบริษัท Friends of the Earth Germany ชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีนี้จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ต่อเมื่อไฮโดรเจนถูกผลิตจากพลังงานทดแทนเท่านั้น โดยประเทศต่าง ๆ ในยุโรปหลายสิบประเทศกำลังสนับสนุนแผนที่จะเพิ่มการใช้โฮโดรเจนให้เป็นพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนน้ำมัน และลดการปล่อยคาร์บอนของทวีปยุโรป นอกจากนี้ ยานพาหนะไฟฟ้าอื่น ๆ ยังสามารถใช้ไฮโดรเจนเพื่อสร้างพลังงานได้ ทำให้ผู้ผลิตสามารถเอาชนะข้อจำกัดของอายุแบตเตอรี่ได้

 

"ยานพาหนะที่ใช้ไฮโดรเจนใช้เวลาเติมเชื้อเพลิงเพียงไม่นานเมื่อเทียบกับการชาร์ตแบตเตอรี่ของยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งรถไฟโคราเดีย ไอลินท์ แล่นได้ในระยะทางราว 1,000 กิโลเมตร และทำความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใกล้เคียงกับรถไฟที่ใช้น้ำมันดีเซล" นายฮิลเจนเบิร์ก กล่าว