VEHICLES

BORGWARD มุ่งพัฒนาระบบแอโรไดนามิกส์เพื่อสมรรถนะสูงสุดในการขับขี่
POSTED ON 21/08/2558


ยานยนต์อุตสาหกรรม - ระบบแอโรไดนามิกส์เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนมากที่สุดเรื่องหนึ่งที่วงการยานยนต์จำเป็นจะต้องตีโจทย์ให้แตก ในศตวรรษที่ 21 นี้ ผู้เชี่ยวชาญยังคงใช้คอมพิวเตอร์ที่มีพลังประมวลผลสูงขนาดเท่าตู้เย็นนานเป็นวันๆ เพื่อไขความลับเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของลม

 

ในช่วงทศวรรษ 1930 นายคาร์ล เอฟ.ดับเบิ้ลยู. บอร์ควาร์ด (Carl F.W. BORGWARD) ได้เกิดแนวคิด ว่า หลักการแอโรไดนามิกส์สามารถประยุกต์ใช้กับยานยนต์ในรูปแบบเดียวกับที่ใช้กับการสร้างเครื่องบิน วิธีการนี้จะสามารถลดการใช้เชื้อเพลงได้ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มความเร็วสูงสุด และเพิ่มความเร่งไปสู่ระดับที่ไม่เคยมีใครคิดฝัน

 

"Windspiel" คือ ต้นแบบแอโรไดนามิกส์รุ่นแรกๆ จาก BORGWARD และเป็นรถเก๋ง 4 ประตู ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 2479 และจัดแสดงที่มหกรรมยานยนต์เบอร์ลินในเดือน มี.ค.2480 รถยนต์รุ่นนี้อาศัยความรู้ด้านแอโรไดนามิกส์ที่นำมาใช้ได้จริงจาก นายพอล แจเรย์ (Paul Jaray) นักวิจัยแอโรไดนามิกส์ชั้นแนวหน้าในยุคสมัยนั้น การออกแบบรูปลักษณ์รถรุ่นนี้ยังมีอิทธิพลต่อรถยนต์รุ่น Airflyte ซึ่ง Nash บริษัทรถยนต์ล้ำสมัยสัญชาติอเมริกันเริ่มพัฒนาในปี 2492

 

แนวคิดในการสร้าง Windspiel คิดขึ้นโดย นายเฮอร์เบิร์ท สแคริสบริค (Herbert Scarisbrick) หัวหน้าดีไซเนอร์ของ BORGWARD และ นายฟรีดริช ไคนาสต์ (Friedrich Kynast) ผู้จัดการโรงงาน ทั้งคู่ยังครอบครองสิทธิบัตรหน้าต่างด้านข้างที่ใช้ในการระบายอากาศ แม้ว่ากำลังเครื่องยนต์จะมีเพียง 40 แรงม้า แต่รถยนต์รุ่นนี้สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ถึงดีไซน์ที่เพรียวลมได้มากกว่าค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศใดๆ ที่เคยมีปรากฏมา

 

สำหรับ BORGWARD Hansa 1500 ตัวถังพอนทูนเป็นที่รู้จักแค่ปี 2492 เท่านั้น เนื่องจากในช่วงนั้นบริษัทฯได้เริ่มงานพัฒนารถยนต์รุ่นแยกตัวถังใหม่ได้แก่ Hansa 1800 Fastback ช่วงเวลานี้เองที่ BORGWARD เริ่มนำรถยนต์ไปทดสอบกับท่อระบายลมที่วิทยาลัยเทคโนโลยีฮันโนเวอร์ และสถาบันวิจัยวิศวกรรมยานยนต์และเครื่องยนต์รถ (FKFS) ในเมืองสตุ๊ทการ์ต ประเทศเยอรมนี

 

สำหรับรถเก๋งท้ายลาดรุ่นใหม่นี้สะท้อนให้เห็นถึงการผลักดันให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพแอโรไดนามิกส์ในรถยนต์ตัวถังพอนทูน ซึ่งทางบริษัทฯคงไม่มีทางล่วงรู้ได้เลยว่า ท่อระบายลมของ BORGWARD สำหรับแบบจำลองในอัตราส่วน 5:1 นั้น ถูกนำมาใช้ เพื่อการพัฒนารถยนต์ 4 ประตูดีไซน์เพรียวลมรุ่นนี้หรือไม่ อย่างไรก็ดี การลงทุนระยะเริ่มแรกของท่อระบายลมซึ่งอยู่ทางใต้ของโรงงาน BORGWARD เป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญของแอโรไดนามิกส์ในสายตาผู้พัฒนายานยนต์ในบริษัทจากเมืองเบรเมนแห่งนี้ ไม่เพียงเท่านี้รถเก๋งท้ายลาดรุ่นนี้ยังได้รับความสนใจอย่างล้นหลามในมหกรรมยานยนต์นานาชาติ IAA ที่แฟรงก์เฟิร์ตเมื่อเดือน เม.ย.2494

 

อย่างไรก็ตาม คอนเซ็ปต์ที่ตั้งไว้ยังคงไม่เพียบพร้อมสำหรับการผลิตรถยนต์รุ่นต่างๆ ผู้พัฒนาเครื่องยนต์อย่าง นายคาร์ล-ลูดวิก แบรนท์ (Karl-Ludwig Brandt) ได้สรรสร้างเครื่องยนต์แบบ 6 สูบในรูปแบบเฉพาะสำหรับโครงการรถยนต์แบบมีส่วนท้ายลาดนี้ โดยรถแต่ละคันจะหยิบยื่นสมรรถนะสูงสุดถึง 82 แรงม้า ขณะที่ในส่วนของตัวรถได้ถูกปรับแต่งเพียงเล็กน้อย อีกทั้ง Chrome trim ยังได้หลุดออกในระหว่างการทดสอบอีกด้วย รถยนต์ที่มีการใช้ระบบแอโรไดนามิกส์สุดวิเศษโมเดลแรกนี้ (หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Hansa 2400 Sport) ได้รับการเปิดตัวในเดือน ต.ค.2495 อย่างไรก็ดี ยอดขายของรถที่มีรูปร่างแปลกตานี้กลับมียอดขายที่ไม่สู้ดีนัก จึงทำให้ BOGWARD เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ 2400 ซึ่งเป็นรถแบบท้ายหยัก

 

ความจริงที่ว่า ประสิทธิภาพของระบบแอโรไดนามิกส์พร้อมด้วยดีไซน์แบบท้ายหยักได้ถูกนำมารวมกันและถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างน่าประทับใจในรถยนต์รุ่น BORGWARD Isabella ซึ่งถูกผลิตขึ้นในปี 2497 โดยมีค่า Cd Value ค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 0.40 เมื่อเทียบกับรถยนต์ในช่วงเวลาเดียวกันอย่าง Ford 17 M ซึ่งมีค่า Cd Value อยู่ที่ 0.54 ทั้งนี้ ยังมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นที่มีระบบแอโรไดนามิกส์ยิ่งกว่ารถรุ่น Isabella ซึ่งก็คือโมเดลรถยนต์รุ่นทายาทอย่าง P 100 ซึ่งรถยนต์รุ่นนี้มีหน้าต่างที่สามารถมองเห็นวิวได้โดยรอบ อีกทั้งยังมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูซึ่งออกแบบโดยดอน (Don) หรือ นายโรเบอโต้ เฮอนันเดซ (Roberto Hernandez) ดีไซเนอร์ของ BORGWARD

 

นอกจากนี้ ยังมีการนำความท้าทายใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในด้านการใช้ท่อระบายลมโดยผู้เชี่ยวชาญจากเบรเมน ทั้งนี้ การทดสอบความเร็วสูงสุดของรถรุ่นดังกล่าวโดยวิศวกร พบว่า รถรุ่นนี้อาจมีระบบแอโรไดนามิกส์ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพดีเต็มที่ นายคาร์ล เอฟ.ดับเบิ้ลยู. บอร์ควาร์ด จึงได้ส่งโมเดลทำจากไม้จำลองที่มีสัดส่วน 1:10 เพื่อให้สถาบัน FKFS ในสตุ๊ทการ์ตดูแลเรื่องท่อระบายลม

 

BORGWARD ได้วาดต้นแบบสัดส่วน 1:1 ด้วยสีเทาพร้อมกับนำปมด้ายมาติดลงบนจุดเฉพาะต่างๆ ซึ่งถ้าหากปมด้ายดังกล่าวยังคงติดอยู่กับตัวรถ ขณะที่มีการใช้ความเร็วสูง นั่นนับเป็นสัญญาณที่ดีของการใช้ระบบแอโรไดนามิกส์ แต่ถ้าหากปมด้ายกระพือไปมา ผลของการทดสอบก็จะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งผลของการศึกษาล่าสุดคาดว่าปัญหาของระบบแอโรไดนามิกส์นี้น่าจะเกิดจากแนวหลังคาของโมเดลต้นแบบ

 

หลังคาของรถยนต์ P 100 ได้ถูกปรับแต่ง และรถยนต์ก็สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามที่วิศวกรได้กำหนดไว้ในสเปค และนี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของความเชี่ยวชาญด้านระบบแอโรไดนามิกส์ของ BORGWARD ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ต้นยุคทศวรรษที่ 1960