VEHICLES

ฟอร์ด นำระบบพิมพ์ 3D มาใช้ผลิตยานยนต์ในอนาคต
POSTED ON 03/08/2558


 

ยานยนต์อุตสาหกรรม - ฟอร์ด ประกาศเดินหน้าเทคโนโลยีรถขับขี่อัตโนมัติเคลื่อนใกล้กระบวนการผลิต ถือเป็นอีกโครงการที่ได้เริ่มต้นจากการวิจัยสู่โครงการด้านวิศวกรขั้นสูง โดยสถาบันวิจัยและนวัตกรรมของฟอร์ด ณ เมืองพาโลอัลโต สหรัฐอเมริกา ได้ทำงานร่วมกับคณะทำงานระดับโลกของฟอร์ดในการพัฒนาแผนการสัญจรอัจฉริยะ ที่จะช่วยยกระดับให้บริษัทฯก้าวนำไปอีกขั้น ทั้งด้านการเชื่อมต่อสื่อสาร การสัญจร นวัตกรรมยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ การสร้างประสบการณ์ความพึงพอใจของลูกค้า และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่

 

นายราช แนร์ รองประธานกลุ่มผู้บริหารฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับโลกของฟอร์ด กล่าวว่า "ในช่วงระหว่าง 5 ปีข้างหน้านี้ เราจะทำงานในเชิงรุกเพื่อติดตั้งเทคโนโลยีในการช่วยเหลือผู้ขับขี่ในรถยนต์ของฟอร์ด เพื่อช่วยให้การขับขี่บนท้องถนนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาสมรรถนะในการขับขี่อัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันเราจะมุ่งมั่นทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการที่ลูกค้าเราเลือกซื้อและเป็นเจ้าของรถฟอร์ดจะมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าด้วยเช่นกัน"

 

ในปัจจุบันกระบวนการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเข้าสู่การผลิตอยู่ในกระบวนการที่ 2 จากทั้งกระบวนการทั้งหมด 3 กระบวนการในการนำฟีเจอร์นี้สู่ตลาดผู้บริโภค เนื่องจากเป็นโปรแกรมการพัฒนาขั้นสูง ทำให้คณะทำงานกำลังทำงานในการพัฒนาระบบสัมผัสรวมถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่จำเป็น และยังรวมไปถึงการทดสอบอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงอัลกอริธึมต่างๆ อย่างละเอียดอย่างสม่ำเสมอ

 

ฟอร์ดยังได้ประกาศว่าเทคโนโลยีระบบป้องกันการชนพร้อมสัญญาณตรวจจับคนเดินถนนที่มีปัจจุบันมีอยู่ในรถฟอร์ด มอนดิโอ ในยุโรป จะมีในรถยนต์ฟอร์ดในสหรัฐอเมริกาในปีหน้า นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะติดตั้งระบบนี้ในรถยนต์ส่วนใหญ่ของฟอร์ดทั่วโลกภายในปี 2019 โดยระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของแบบการผลิตรถยนต์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับระบบขับเคลื่อนแบบกึ่งอิสระ โดยฟอร์ดได้พัฒนาศักยภาพการใช้เซ็นเซอร์ อัลกอริธึม และจุดกระตุ้นต่างๆ ในรถยนต์เพื่อสร้างเทคโนโลยีการขับรถอัตโนมัติเต็มรูปแบบในแบบใหม่

 

การเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตอินเทอเฟสของเหลวแบบต่อเนื่อง หรือ CLIP ของคาร์บอน ทรีดี (Carbon 3D) ช่วยเร่งการสร้างนวัตกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยฟอร์ดร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพ และหน่วยงานหลักต่างๆ ในซิลิคอนแวลลีย์ เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาด้านการสัญจรให้กับคนกว่าหลายล้านคนทั่วโลก

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2557 ที่ผ่านมา ฟอร์ดได้ทำงานร่วมกับคาร์บอน ทรีดี ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอินเทอเฟสของเหลวแบบต่อเนื่อง หรือ CLIP ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ที่พัฒนามาจากระบบแผนยางยูวี ซึ่งมีกระบวนการทำงานที่เร็วขึ้น 25-100 เท่า เมื่อเทียบกับกระบวนการพิมพ์ 3 มิติแบบดั้งเดิม ผลลัพธ์ของชิ้นส่วนที่ได้จากการพิมพ์ 3 มิตินี้มีคุณสมบัติในทางเครื่องกลที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญต่างๆ ของรถยนต์ฟอร์ดได้ รวมไปถึงชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีคุณภาพสูงด้วย

 

ทีมงานของฟอร์ดยังทำงานร่วมกันในการขยายนวัตกรรมการเชื่อมต่อสื่อสารด้วยการใช้เทคโนโลยีแบบสวมใส่ โดยบริษัทฯได้พัฒนาการขยายฟังก์ชั่นการใช้งานของแอพพลิเคชั่นมือถือ "มายฟอร์ด" ซึ่งจะเปิดตัวในนาฬิกาอัจฉริยะรวมไปถึงในแอนดรอยด์แวร์ในเร็วๆ นี้

 

แอพพลิเคชั่นมือถือ "มายฟอร์ด" ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ในมือถือสมาร์ทโฟนจะช่วยให้ลูกค้าสามารถเช็คทิศทางในการขับขี่ของยานพาหนะ ระดับแบตเตอรี่ รวมไปถึงระบบปลั๊กอินไฮบริด หรือการควบคุมสั่งการยานพาหนะไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วจากข้อมือของผู้ขับขี่ก่อนที่จะเดินทาง และยังสามารถค้นหาที่จอดชองสถานที่ที่เคยจอดรถไว้ครั้งสุดท้ายได้อีกด้วย

 

เมื่อเร็วๆ นี้ฟอร์ดยังได้ประกาศเปิดตัวระบบสั่งงานด้วยเสียงซิงค์ 3 (SYNC 3) ซึ่งเป็นระบบเพื่อการสื่อสารและความบันเทิงใหม่ล่าสุด ในตลาดอเมริกาเหนือ ในปีพ.ศ. 2559 ในรถยนต์ฟอร์ดเอสเคป เฟียสต้า เอฟ-150 มัสแตง และทรานสิท ระบบสั่งงานด้วยเสียงซิงค์ 3 SYNC 3 มีฟังก์ชั่นและประสิทธิภาพการใช้งานที่รวดเร็วขึ้น พร้อมความสามารถในการรับรู้เสียงจากบทสนทนา หน้าจอสัมผัสที่ใช้งานง่ายเหมือนสมาร์ทโฟน และกราฟฟิคอินเทอเฟซที่เข้าใจได้ง่าย

 

ฟอร์ด ถือเป็นบริษัทแรกที่นำเอาเทคโนโลยีการควบคุมด้วยเสียงมาใช้ในแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนกับแอพลิงค์ (AppLink) และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการใช้อินเทอเฟซระบบสัมผัสหน้าจอในระบบสั่งงานด้วยเสียงซิงค์ 3 ทั้งนี้ แอพลิงค์จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนและควบคุมการใช้งานเข้ากับแอพพลิเคชั่นผ่านการควบคุมด้วยเสียงหรือการกดปุ่มบนหน้าจอสัมผัส โดยแอพพลิเคชั่นที่จะเปิดตัวพร้อมกับระบบซิงค์ 3 ใหม่ ได้แก่ สปอทติฟาย แพนดอร่า กลิมซี่ แอคคูเวเตอร์ และไอฮาร์ทออโต้