SPECIAL FEATURES

นวัตกรรมด้านโลจิสติกส์เชื่อมต่อภาคธุรกิจกับผู้บริโภคต่อยอดสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในอนาคต
POSTED ON 17/09/2561


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

 

บทความโดย คาเรน เรดดิงตัน ประธาน บริษัท เฟดเอ็กซ์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีต่างๆ กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการดำเนินธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ยังได้ต่อยอดสู่ความเป็นได้ใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพสำหรับภาคธุรกิจและผู้บริโภคในอนาคต

 

ในขณะที่เรากำลังก้าวเข้ายุคอุตสาหกรรม 4.0 (การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าสามารถเชื่อมความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง) การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่อย่าง AI หรือปัญญาประดิษฐ์ กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่คอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติทำงานร่วมกัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ เช่น การใช้ผู้ช่วยเสมือนจริง (Virtual Assistants) เพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งานผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค รวมถึงการใช้เทคโยโลยีเอไอและหุ่นยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขนส่งและจัดเก็บสินค้าในโกดัง

 

ขณะที่อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ บล็อกเชน (Blockchain) โดยฐานข้อมูลและเครือข่ายของบล็อกเชน (บางครั้งเรียกว่า Chain of Events หรือ Blocks) สามารถแกะรอยและดึงข้อมูลจากเกือบทุกกิจกรรมทางธุรกิจครอบคลุมการใช้งานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมด้านการเงิน หรือประวัติข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วย บล็อกเชนยังสามารถลดความเสี่ยงและมีประสิทธิภาพด้านการจัดการเวลาและต้นทุนในการขนส่งลงอีกด้วย โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ต้องการความละเอียดอ่อนและเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง อาทิ สินค้าเวชภัณฑ์ ซึ่งหากลูกค้าต้องการความมั่นใจตลอดระยะเวลาการขนส่ง บล็อกเชนจะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบและคอยให้ข้อมูลการขนส่งอย่างละเอียด

 

เทคโนโลยีเอไอได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในปัจจุบันนี้ไปสู่มิติใหม่ ทั้งนี้ หากเทคโนโลยีเอไอมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในอนาคตอีกไม่นานลูกค้าสามารถสั่งสินค้าผ่านผู้ช่วยอัจฉริยะที่สั่งงานด้วยเสียง (Voice Assistant)

 

นอกจากนี้ คาดว่าภายในระยะ 10 ปี อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีการใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างกว้างขวางในการขนส่งสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมรวมถึงมีการพัฒนาระบบขนส่งอัตโนมัติสำหรับพาหนะขนส่งที่มีขนาดใหญ่ (Large long-haul vehicles)

 

ลูกค้าจำนวนมากกำลังมองหาบริการด้านการจัดส่งที่สะดวกสบายและตรงตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ละรายส่งผลให้เกิดการลงทุนของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในด้านดิจิตัลและเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงมีการขยายช่องทางการซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ โดยมีการขยายตัวของการให้บริการการขนส่งเฉพาะทาง เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค 

 

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย สภาพแวดล้อมทั้งในเชิงเทคโนโลยี ธุรกิจและสังคม ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์หันมาให้ความสนใจและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน การส่งมอบงานที่เร็ว ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งบริษัทต่าง ๆ ที่ทำงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก็มีการตื่นตัวพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่ความสะดวกสบายที่มากขึ้นของผู้บริโภค อาจกล่าวได้ว่า นวัตกรรมในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจที่มากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจมีความมั่นคง และเชื่อมต่อผู้บริโภคไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ทั่วโลก