SPECIAL FEATURES

สถานการณ์ซัพพลายเชนในภาคการผลิตของไทย และการค้าโลกประจำปี 2556
POSTED ON 26/12/2556


 

ผู้บริหารในภาคการผลิตและการส่งออกของไทยต้องเผชิญความท้าทายที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ท้ายปี พ.ศ.2556  โดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมืองและการเติบโตของภาคการผลิตของไทยในอนาคต

 

ในขณะที่ปี พ.ศ.2557 กำลังมาถึงในอีกไม่ช้า จึงถือเป็นช่วงเวลาอันดีที่จะสำรวจบทเรียนสี่ประเด็นที่เกิดจากระบบซัพพลายเชนในภาคการผลิตปี พ.ศ.2556 แม้ว่ายังมีอีกหลายประเด็นที่ควรหยิบยกมาพูดถึง แต่สี่หัวข้อดังกล่าวถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญที่สุดของระบบซัพลายเชนในปีนี้จากมุมมองของกลุ่มพันธมิตร Open Computing Alliance หรือ OCA

 

ภาคการผลิตของประเทศไทยปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

ผู้บริหารไทยมีความสามารถในการบริหารจัดการอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายทางการเมืองหรือภัยธรรมชาติ รวมถึงการปรับตัวเพื่อรักษาหรือแม้กระทั่งสร้างการเติบโตของธุรกิจท่ามกลางสภาวะที่วุ่นวาย นอกจากนี้ผู้บริหารไทยยังมีความมุ่งมั่นในการสร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรม หลายสมาคมการค้าของไทย อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมในการสนับสนุนและให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการล่าสุดในภาคธุรกิจแก่สมาชิก “สมาคมการค้าของไทยควรได้รับการยกย่องในการกระตือรือร้นให้ข้อมูลแก่สมาชิกเกี่ยวกับความท้าทายด้านการค้าระหว่างประเทศ พร้อมนำเสนอทางออกที่ดี” นายไมเคิล มัดด์ เลขาธิการ OCA กล่าว

 

ระบบซัพพลายเชนที่สะอาดมีความสำคัญมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

 

ผู้บริโภคและพันธมิตรทางการค้าต่างต้องการทำธุรกิจกับบริษัทที่ระบบซัพพลายเชนที่สะอาด และสามารถตรวจสอบได้ บริษัทที่มีระบบซัพพลายเชนที่แข็งแกร่งจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้ผลิตที่มีจุดอ่อนในระบบซัพพลายเชน ทั้งในด้านกฎหมาย ความปลอดภัย สุขภาพและสิ่งแวดล้อมจะมีธุรกิจที่ไม่ยั่งยืน ปัจจุบันมีหลายหนทางที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าระบบซัพพลายเชนในแต่บริษัทสะอาดเพียงพอหรือไม่  ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้หน่วยงานอิสระเข้าตรวจสอบ และยังมีเว็บไซต์ท่า (web portals) อย่าง Verafirm.org ที่เปิดโอกาสให้บริษัทผู้ผลิตได้แสดงตนต่อคู่ค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาว่ามีระบบซัพพลายเชนที่สะอาด และบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยปัจจุบันมีบริษัทไทยกว่า 50 รายที่ลงทะเบียนกับ Verafirm.org และตัวเลขดังกล่าวกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปีพ.ศ.2557  “Verafirm ทำให้บริษัทผู้จัดส่งวัตถุดิบของเราสบายใจเมื่อได้ทราบว่าเราปฏิบัติตามกฎหมายไอทีอย่างถูกต้อง” นางอลิสา พฤกษ์วัฒนากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท สินชัยห้องเย็น จำกัด กล่าว

 

กฎหมายด้านไอทีและซอฟต์แวร์กำลังเป็นมาตรฐานสำคัญ

 

บริษัทผู้นำเข้าและผู้ซื้อในสหรัฐอเมริกาจะไม่มองข้ามกฎหมายด้านไอทีและซอฟต์แวร์อีกต่อไป ผู้ซื้อรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาต้องการบริษัทผู้จัดส่งวัตถุดิบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปฏิบัติตามกฎหมายในประเทศและระดับสากล ผศ.ดร.สุขุมาล กิติสิน แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า กฎหมายการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมฉบับใหม่ของสหรัฐอเมริกาซึ่งห้ามใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในสินค้าและการบริการที่ส่งมาถึงสหรัฐอเมริกานั้นกำหนดให้ “ผู้ผลิตทุกรายต้องใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย ผู้ผลิตรู้ดีว่าภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียยอดสั่งซื้อครั้งใหญ่ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นการตัดสินใจทางธุรกิจที่ขาดความรับผิดชอบ”

 

ช่องว่างของการบริหารจัดการระบบซัพพลายเชนในประเทศไทยกำลังแคบลง

 

ในปีนี้ ทางการได้ตรวจพบบริษัทผู้ผลิตใช้ซอฟต์แวร์และผลิตภัณฑ์ไอทีผิดกฎหมายหลายสิบคดี ผู้ผลิตเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสิ่งทอในระดับโลก คดีตัวอย่างสำคัญ อาทิ บริษัทผู้ผลิตสิ่งทอจากจีนและอินเดียถูกรัฐแคลิฟอร์เนียฟ้องร้อง บริษัทวิทยาศาสตร์การบินของบราซิลถูกฟ้องโดยรัฐวอชิงตัน และบริษัทอาหารและชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยถูกรัฐแมสซาชูเซตส์และเทนเนสซีฟ้องตามลำดับ อย่างไรก็ตามเราตระหนักดีว่า บริษัทผู้ประกอบการในประเทศไทยเริ่มมีการปฏิบัติงานด้านไอดีที่ดีขึ้น สังเกตได้จากอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องและคาดการณ์ว่าจะลดลงต่อไปในปี พ.ศ.2557

 

เกี่ยวกับ Open Computing Alliance

 

เป้าหมายของ Open Computing Alliance (OCA) คือการสร้างประชาคมที่มีความสนใจร่วมเพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากพัฒนาการของระบบประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing)