SPECIAL FEATURES

ความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเม็ดสีโลก
POSTED ON 14/12/2558


 

เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2558 ที่ผ่านมา แลงเซส (LANXESS) บริษัทผู้ผลิตเม็ดสีไอออนออกไซด์สังเคราะห์ชั้นนำของโลก จัดงาน "แลงเซส พิกเมนท์สซิมโพเซียม" ครั้งที่ 2 ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยแนวคิดของงานในปีนี้คือ "ความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเม็ดสีโลก - พลิกความท้าทายให้เป็นการสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน" ซึ่งนับเป็นอีกครั้งที่หน่วยธุรกิจเม็ดสีอนินทรีย์ หรือ IPG (Inorganic Pigments) ได้เปิดเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานจากทั่วโลกมาร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาในปัจจุบันและความท้าทายของอุตสาหกรรมเม็ดสีในอนาคต โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากทั่วโลกกว่า 150 ราย

 

ภายในงานดังกล่าวได้มีการพูดคุยในหลากหลายหัวข้อ อาทิ การดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในประเทศจีน, การควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมเม็ดสีที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และความท้าทายใหม่ในอุตสาหกรรมสีและเคลือบสี เป็นต้น

 

จีนเป็นตลาดการขายที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางการผลิตเม็ดสีอนินทรีย์ไอออนออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เศรษฐกิจของจีนกำลังอยู่ในช่วงการปรับโครงสร้างใหม่ ซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมเม็ดสีอย่างมหาศาล โดย นายราฟาเอล ซูชาน ผู้อำนวยการหน่วยธุรกิจเม็ดสีของแลงเซส เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้นบีบให้ผู้ผลิตมากมายในประเทศจีนต้องปิดโรงงานผลิต อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สภาพธุรกิจจะอยู่ในช่วงถดถอยชั่วคราว แต่ความต้องการเม็ดสีอนินทรีย์ในระดับโลกกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเมืองใหญ่ ซึ่งพัฒนาการนี้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่ออุตสาหกรรมทาสีและเคลือบสีระดับโลก"

 

ผู้แทนจากหน่วยงานรัฐบาลจีนเห็นพ้องว่า การควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมเม็ดสีจะยังคงดำเนินต่อไป แผนฉบับที่ 13 ซึ่งมีระยะเวลา 5 ปีของจีนและอิทธิพลของแผนดังกล่าวที่มีต่ออุตสาหกรรมสีและเคลือบสีแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ผลิตเม็ดสีไอออนออกไซด์จะสามารถดำเนินธุรกิจในจีนให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้ด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดเท่านั้น

 

แผนการพัฒนาของจีนกำหนดเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานภายในปี 2563 ไว้อย่างชัดเจน ด้วยการลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว โรงงานผลิตเม็ดสีทุกแห่งจะต้องมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมระดับสูงภายใต้การตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงที่เข้มงวดอย่างไม่มีข้อยกเว้น

 

ผู้แทนของรัฐบาลยังพูดคุยเกี่ยวกับผลกระทบของข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ของจีน บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดฉบับใหม่จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยในปี 2557 ที่ผ่านมา มีการใช้บทลงโทษต่อบริษัทที่ละเมิดข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าปีก่อนหน้าถึง 3 เท่าตัว

 

นอกจากนี้ จำนวนผู้ผลิตเม็ดสีที่มีกำลังการผลิตน้อยกว่า10,000 เมตริกตันต่อปีจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากข้อกำหนดใหม่ เป้าหมายของรัฐบาลคือการสนับสนุนการควบรวมกิจการอุตสาหกรรมมากขึ้น สุดท้ายแล้วมีเพียงผู้ผลิตไอออนออกไซด์ที่มีความยั่งยืนและมีศักยภาพสูงขึ้นเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่จะดำเนินธุรกิจในจีนต่อไปได้

 

นายจอร์ก เฮลล์วิก ผู้อำนวยการหน่วยธุรกิจเม็ดสีอนินทรีย์ของแลงเซส กล่าวว่า "ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายนี้ การพัฒนาธุรกิจในประเทศจีนนั้นจำเป็นต้องอาศัยการลงทุนความเชี่ยวชาญทางเทคนิคและมีกระบวนการโซลูชั่นใหม่จึงจะประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว และช่วยสร้างสรรค์ความก้าวหน้าให้แก่อุตสาหกรรม"

 

นายเฮลล์วิก ยังอธิบายถึงวิธีการดำเนินการที่มุ่งสู่ความสำเร็จด้วยการยกตัวอย่างกระบวนการหนิงป่อ (Ningbo) รูปแบบใหม่ซึ่งแลงเซสพัฒนาระบบวิศวกรรมเพื่อการผลิตเม็ดสีแดงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในจีนโดยเฉพาะ และจะถูกใช้ในโรงงานแห่งใหม่ในหนิงป่อ เทคโนโลยีใหม่นี้แตกต่างจากกระบวนการผลิตเพนนิแมน (Penniman) แบบดั้งเดิมที่ใช้อยู่ในจีน เนื่องจากหนิงป่อจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเสียได้อย่างมหาศาลและครอบคลุมระบบการบำบัดน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตได้อย่างทรงประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการดีไนตริฟิเคชั่นทางชีววิทยา กระบวนการอัลตร้าฟิลเทรชั่น และรีเวอร์สออสโมซิสอย่างมีประสิทธิภาพ จนน้ำเกือบทั้งหมดสามารถนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตได้อีก

 

นายนอร์เบิร์ต มาห์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้ออนินทรีย์โกลเบิลของ BASF SE อธิบายว่า "กระบวนการจัดซื้อที่ยั่งยืนสามารถผนวกรวมเป้าหมายเชิงเศรษฐกิจและนิเวศวิทยาเข้าไว้ด้วยกันได้ กระบวนการจัดซื้อที่มีความยั่งยืนไม่เพียงให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ แต่ยังใส่ใจในความสำคัญของการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของรัฐบาล รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้ผลิตวัตถุดิบเพื่อพัฒนาเพิ่มเติมถ้าจำเป็น ดังนั้น BASF จึงผนึกกำลังกับบริษัทอื่นรวมถึงแลงเซสในการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อความยั่งยืน หรือ Together for Sustainability (TfS) เป้าหมายของโครงการนี้คือการพัฒนาโปรแกรมระดับโลกสำหรับการจัดซื้อสินค้าและบริการอย่างมีความรับผิดชอบและปรับปรุงมาตรฐานด้านนิเวศวิทยาและสังคมของผู้ผลิตวัตถุดิบ"

 

ขณะที่ทางด้าน นายเดนนิส โชลซ์ ผู้จัดการทั่วไป จาก บริษัท ฮาโรลด์โชลส์ แอนด์ โค นายคลิฟฟอร์ด ชอฟซ์ จาก บริษัท ชอฟซ์แอสโซซิเอท นายห่าว หลี ผู้จัดการทั่วไป จาก เอชซีเอ คอนซัลติ้งไชน่า และ นายคริสเตียน วูล์ฟรัม ผู้จัดการโครงการ จาก บอสตันคอนซัลติ่ง กรุ๊ป ก็ได้ร่วมกันหารือถึงการพัฒนาตลาด ความท้าทาย นวัตกรรม และแนวโน้มใหญ่ของอุตสาหกรรมเคลือบสีในปัจจุบัน

 

การพูดคุยภายในงานซิมโพเซียมในปีนี้เหมือนกับงานที่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2556 ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ทำให้ผู้เข้าร่วมงานมีโอกาสพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญและหุ้นส่วนในอุตสาหกรรมที่มีความชำนาญเฉพาะทางหลากหลายด้านได้อย่างกว้างขวาง

 

"เสียงตอบรับที่ดีเยี่ยมที่เราได้รับจากผู้เข้าร่วมงานและผู้บรรยายทำให้เราต้องการเดินหน้าจัดกิจกรรมเช่นนี้เป็นประจำ โดยงานแลงเซสพิกเมนท์สซิมโพเซียมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในภูมิภาคอเมริกาเหนือในปี 2560" นายเฮลล์วิก กล่าว

 

Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics