SPECIAL FEATURES

ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อหนุนธุรกิจสู่ผู้นำอุตสาหกรรมยา
POSTED ON 26/10/2558


 

โดย เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

ประเทศไทยรวมไปถึงเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ต่างมีอัตราการเติบโตของการยอมรับการลงทุนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ดังข้อมูลของสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ (IFR) ที่ระบุว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วในแถบเอเชีย ด้วยตัวเลขประเมินจำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในสต็อกที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างน้อย 4,000 ยูนิต นับตั้งแต่ปี 2556 ไปจนถึงปี 2560 โดยผู้ผลิตต่างสนใจลงทุนกับเทคโนโลยีนี้เพราะมีข้อได้เปรียบเชิงธุรกิจหลายประการ เช่น เพิ่มศักยภาพการผลิต และลดค่าใช้จ่าย

 

ภาคส่วนสาธารณสุขของไทยเติบโต

 

เมื่อปี 2545 ประเทศไทยได้เปิดตัวโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชากรไทยได้รับการประกันสุขภาพ ปลุกเร้าการเติบโตในธุรกิจเภสัชกรรมให้กลายมาเป็นตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันไทยได้กระโดดขึ้นเป็นที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องเป็นสองเท่าภายในปี 2563  

 

การส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชกรรมมีมูลค่าประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 10,500 ล้านบาท โดยส่งไปยังประเทศในอาเซียน เช่น เวียดนาม และกัมพูชา ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภายในปี 2563 จะมีผู้มีอายุ 60 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 18% ของจำนวนประชากรในประเทศ เทียบอัตราส่วนกับประชากรวัยทำงานเป็น 6:1 ดังนั้น จากจำนวนประชากรสูงอายุของประเทศที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการเติบโตในภาคส่วนสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

 

ภาครัฐได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ โดยจะเห็นได้จากงบประมาณสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณภาพ (value chain) ที่มุ่งหวังให้ก้าวทันความต้องการที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตทั้งหลายจึงมีความจำเป็นต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ซึ่งถือว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นกุญแจสำคัญสำหรับผู้ผลิตในการเข้าโค้งสู่เส้นชัย

 

พัฒนาการของหุ่นยนต์

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปลดลูกตุ้มน้ำหนักรวมทั้งลดปริมาณก๊าซคาร์บอนฯของหุ่นยนต์ แขนกลหุ่นยนต์ที่รับน้ำหนักได้ (payload) 3 กิโลกรัม มีน้ำหนักเพียง 11 กิโลกรัมเท่านั้น และมีปริมาณคาร์บอนฯเพียง 5 นิ้ว

 

เรื่องของความปลอดภัยก็เป็นอีกประเด็นที่แทบไม่ต้องกังวล ด้วยฟีเจอร์ที่ฝังมาในแขนกลที่สามารถรับสัมผัสแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ซึ่งหุ่นยนต์จะหยุดการเคลื่อนไหวเมื่อสัมผัสสิ่งสัมผัสกีดขวางเส้นทางการเคลื่อนที่ ทำให้รั้วกั้นเพื่อความปลอดภัยก็จะไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป หลังจากการประเมินความเสี่ยงแล้ว

 

ประโยชน์ที่โดดเด่นเช่นนี้ทำให้หุ่นยนต์เหมาะอย่างยิ่งต่อการใช้งานในการผลิตทางเภสัชกรรม ภายในพื้นที่การผลิตที่มีความหนาแน่นของคนต่อตารางฟุตสูง เพราะอาศัยคนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ความท้าทายเช่นนี้สามารถจัดการได้ด้วยหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ ทำงานคู่ไปกับคนผู้ควบคุมเครื่องจักรกล หุ่นยนต์จึงเป็นตัวผลักดันกำลังการผลิต เพิ่มความคล่องตัวในโรงงานในส่วนต่างๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วนและบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์ทางการแพทย์ การเตรียมใบสั่งจ่ายเภสัชการสำหรับร้านขายยาและโรงพยาบาล เป็นต้น

 

หุ่นยนต์เพื่อการผลิตในภาคส่วนงานสาธารณสุข

 

ศักยภาพและคุณภาพของการผลิตจะเกิดประโยชน์เมื่อติดตั้งหุ่นยนต์ในจุดต่างๆ อย่างมีกลยุทธ์บนสายพานการผลิต ซึ่งต้องใช้ความเที่ยงตรง แม่นยำ เช่น งานผลิตเครื่องช่วยฟัง ซึ่งขนาดของคอมโพเน้นท์ที่จำเป็นต้องใช้มีขนาดเล็กมาก ท้าทายศักยภาพการผลิตที่ต้องรับมือให้ได้ ซึ่งเป็นจุดที่หุ่นยนต์สามารถเข้ามาช่วยจัดการกับชิ้นส่วนที่มีขนาดเป็นเพียงมิลิเมตรเท่านั้น โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิธีนี้ไม่ลดคุณภาพแต่ยังเร่งอัตราความเร็วในการผลิตได้อีกด้วย ทั้งนี้ หุ่นยนต์สามารถทำงานได้เร็วเพียงไม่กี่วินาทีต่อรอบเท่านั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารสายการผลิตและคอมโพเน้นท์ที่ใช้งาน

 

นอกจากนี้ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ติดตั้งใช้ในโรงงานนั้นสามารถทำการตั้งโปรแกรมได้ง่าย คล่องตัว และยืดหยุ่นในการใช้งาน เคลื่อนย้ายสะดวก ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯน้อย มีฟีเจอร์และอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่ายแบบบิลท์อิน ทำให้ผู้ผผลิตได้เปรียบอย่างยิ่งเมื่อต้องตัดสินใจเชิงธุรกิจ และสามารถก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็วรองรับวิศวกรรมการแพทย์ และนั่นหมายถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่สั้นลงด้วย

 

กระบวนการผลิตต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตอบสนองทั้งคอมโพเน้นท์ใหม่ที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา และรองรับกับขนาดที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ยาปริมาณเพียงเล็กน้อย จนถึงแคปซูลขนาดใหญ่ เป็นการช่วยลดเวลาในการวางสินค้าออกสู่ตลาด และกำจัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงไปกับการปรับปรุงยกเครื่องสายพานการผลิต

 

ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมด้านสาธารณสุขและการแพทย์ที่กำลังขยายตัว ส่งสัญญาณมายังภาคส่วนเภสัชกรรมให้เร่งพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการผลิตและความสามารถในการแข่งขัน ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น และรักษาตำแหน่งผู้นำในการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ทั้งนี้ อัตราการเติบโตและตำแหน่งทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสาธารณสุขของประเทศในทศวรรษต่อไปน่าจะขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตเลือกที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในธุรกิจของตนเองหรือไม่นั่นเอง  

 

Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics