LOGISTICS

ฮัทชิสัน พอร์ท ทุ่ม 2 หมื่นล้านบาท สร้างท่าเทียบเรือชุด D แห่งใหม่ที่แหลมฉบัง
POSTED ON 08/05/2561


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

 

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เปิดตัวโครงการท่าเทียบเรือชุด D ในท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลุบรี ด้วยมูลค่าการลงทุนเกือบ 20,000 ล้านบาท (ราว 600 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยท่าเทียบเรือชุดใหม่นี้จะเป็นท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าแห่งแรกของโลกที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control Technology) อย่างเต็มรูปแบบ

 

โดยในช่วงแรกของการก่อสร้างท่าเทียบเรือชุด D จะประกอบไปด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกถึง 3 คัน ปฏิบัติงานผ่านเทคโนโลยีควบคุมจากระยะไกล โดยคาดว่าจะเปิดใช้งานในช่วงแรกนี้ได้ในช่วงกลางปี 2561 และเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือแห่งนี้จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าของท่าเรือแหลมฉบังได้อย่างมหาศาลถึงราว 3.5 ล้านทีอียู (หน่วยนับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต)

 

 

นายสตีเฟ่น แอชเวิร์ธ กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงความคืบหน้าของท่าเทียบเรือชุด D ว่า “เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและการลงทุนในท่าเทียบเรือชุด D นี้ และเป็นการลงทุนครั้งล่าสุดของเราที่จะกระตุ้นศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและเอื้อต่อความเจริญเติบโตของกิจการค้าของประเทศ”

 

“ท่าเทียบเรือชุด D ใหม่นี้จะสามารถรองรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและทางเลือกให้กับลูกค้า ควบคู่ไปกับการยกระดับของประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ในคราวเดียวกัน และเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือชุด D แห่งนี้จะมีความยาวหน้าท่ารวมทั้งสิ้น 1,700 เมตร มีปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า (super post panamax quay cranes) จำนวน 17 คัน และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางไฟฟ้า (electric rubber tyred gantry cranes) อีกจำนวน 43 คัน ที่ได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลหรือรีโมตคอนโทรล ซึ่งส่งผลดีหลายประการ ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ช่วยยกระดับสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานควบคุมปั้นจั่น ช่วยเพิ่มศักยภาพความปลอดภัยด้านอุตสาหกรรม และช่วยสร้างภาพแวดล้อมที่สะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” นายแอชเวิร์ธ กล่าว