ENVIRONMENT

เร่งเครื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รองรับการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก
POSTED ON 06/10/2558


สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม - เมื่อวันที่ 24 ก.ย.2558 ที่ผ่านมา สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ องค์การบริหารจัดการ ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการ "ขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม ระยะที่ 4” ขึ้น ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ เพื่อเร่งส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อมรองรับระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในกรณีที่ประเทศไทยต้องกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปในอนาคต

 

ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Non-Annex I คือไม่มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ ในที่ประชุม COP 20 ประเทศไทยได้มีการกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมถึงแนวทางในการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยลงร้อยละ 7 ในภาคพลังงาน และภาคการคมนาคมขนส่งภายในปี พ.ศ.2563 โดยเทียบกับ BAU (Business as Usual) และอาจลดได้ถึงร้อยละ 20 หากได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติ โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน

 

ปัจจุบันได้มีการจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติด้านการจัดการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ช่วงปี พ.ศ.2558-2593 เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ผลักดันการจัดทำแผนดำเนินงานอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพในทุกภาคส่วนและทุกระดับ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย และส่งเสริมให้ไทยเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ภายใต้บริบทการพัฒนาประเทศแบบเศรษฐกิจพอเพียง

 

นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า งานสัมมนาดังกล่าวเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมทำการคำนวนค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ทำให้ทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง โดยองค์กรสามารถนำผลที่ได้มาใช้ต่อยอดการดำเนินงาน ใช้เป็นข้อมูลปีฐานขององค์กรในการจัดทำแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตน ซึ่งผลจากการดำเนินการดังกล่าวนั้นจะส่งผลให้องค์กรสามารถลดการใช้ทรัพยากรภายในองค์กรที่เป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทำให้ภาพรวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศลดลงได้

 

การดำเนินงานโครงการขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม ระยะที่ 4 นั้น เป็นอีกโครงการที่สภาอุตสาหกรรมฯ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยในปี 2558  มีองค์กรนำร่องเข้าร่วมโครงการและได้รับการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรจาก อบก. ทั้งสิ้นจำนวน 39 แห่ง จากเดิมที่กำหนดเป้าหมายไว้ 35 แห่ง โดยมีผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมขอสมัครเข้าร่วมเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 แห่ง

 

โดยองค์กรทั้ง 39 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ เป็นองค์กรนำร่องในการดำเนินโครงการ ได้ให้การสนับสนุนข้อมูลสำหรับทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กร ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ เช่น ข้อมูลปริมาณการใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าขององค์กร รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะช่วยให้ทุกภาคส่วนได้เข้าใจหลักการในการประเมินค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และทราบถึงแนวทางในการเตรียมตัวเพื่อขอรับการรับรองผล

 

ด้าน ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กล่าวว่า อบก.ได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทุกภาคส่วนโดยดำเนินการผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism) เรียกโดยย่อว่า CDM, โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เป็นต้น

 

"สำหรับโครงการขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม ระยะที่ 4 นี้ ถือเป็นอีกโครงการที่ทำให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะเน้นที่องค์กรภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูง ทำการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กรของตนเอง ซึ่งผลจากการดำเนินงานนี้ ทำให้สามารถประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กรตน สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญและหาแนวทางเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้ภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลดลง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป" ดร.พงษ์วิภา กล่าว

 

รายชื่อโรงงานนำร่องที่เข้าร่วมโครงการขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม ระยะที่ 4

ลำดับ

บริษัท

ประเภทอุตสาหกรรม

1

 บริษัท กลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด โรงงานราชบุรี

เยื่อและกระดาษ

2

 บริษัท กัลฟ์ เจพี เอ็นแอลแอล จำกัด

ผู้ผลิตไฟฟ้า

3

 บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน)

ผู้ผลิตไฟฟ้า

4

 บริษัท แกรนด์ สยามคอมโพสิต จำกัด # 2

เคมี

5

 บริษัท แกรนด์ สยาม คอมโพสิต จำกัด # 7

เคมี

6

 บริษัท แก่นขวัญ จำกัด

อาหาร

7

 บริษัท คิงส์แพ็ค อินดัสเตรียล จำกัด

พลาสติก

8

 บริษัท โคห์เลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

เซรามิกส์

9

 บริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด (มหาชน)

เหล็ก

10

 บริษัท ชไนเดอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

11

 บริษัท ดับเบิ้ลเอ (1991) จำกัด (มหาชน)

เยื่อและกระดาษ

12

 บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)

ปูนซีเมนต์

13

  บริษัท ทีดีเค (ประเทศไทย) จำกัด

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

14

 บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) โรงงานกาญจนบุรี

เยื่อและกระดาษ

15

 บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) โรงงานปราจีนบุรี

เยื่อและกระดาษ

16

 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอยี่ จำกัด สาขาขอนแก่น

พลังงานทดแทน

17

 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอยี่ จำกัด สาขาปราจีนบุรี

พลังงานทดแทน

18

 บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน)

พลาสติก

19

 บริษัท ไทยเอ็มเอฟซี จำกัด

เคมี

20

 บริษัท ธนภักดี จำกัด

อาหาร

21

 บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด

พลาสติก

22

 บริษัท นวอินเตอร์เทรด จำกัด

ผลิตแม่พิมพ์อุตสาหกรรม

23

 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด

ปูนซีเมนต์

24

 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โรงงานเขาวง

ปูนซีเมนต์

25

 บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน)

พลาสติก

26

 บริษัท พรีแพค ประเทศไทย จำกัด

พลาสติก

27

 บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด

ปิโตรเคมี

28

 บริษัท ยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ แอนด์ ดิสทิลเลอรี่ จำกัด

อาหาร

29

 บริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด (สาขามิตรภูเวียง)

อาหาร

30

 บริษัท รอยัล ปอร์ซเลน จำกัด

เซรามิกส์

31

 โรงไฟฟ้า บริษัท น้ำตาลมิตรภูเวียง จำกัด

ผู้ผลิตไฟฟ้า

32

 บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด

เครื่องจักรกลการเกษตร

33

 บริษัท สยามมอร์ตาร์ จํากัด (โรงงานแก่งคอย)

ปูนซีเมนต์

34

 บริษัท สยามยูไนเต็ดสตีล (1995) จำกัด

เหล็ก

35

 บมจ. สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

36

 บริษัท สีมาธุรกิจ จำกัด

อาหาร

37

 บริษัท โอเรียลเต็ล คอปเปอร์ จำกัด

โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก

38

 บริษัท อัลตัม พริซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

39

 บจก. ฮัทชินสัน เทคโนโลยี  โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย)

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

 

Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics