ENVIRONMENT

แคนาดาและสหราชอาณาจักร ร่วมวิจัยแก้ปัญหาภูมิอากาศในแอฟริกาและเอเชีย
POSTED ON 07/03/2557


สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม - ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDRC) แห่งแคนาดา และสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (DFID) แห่งสหราชอาณาจักร ประกาศคัดเลือกโครงการวิจัยร่วมจำนวน 4 โครงการ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแอฟริกาและเอเชีย โดยโครงการเหล่านี้จะได้รับเงินทุนสนับสนุนภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่องานวิจัยด้านการปรับตัวในแอฟริกาและเอเชีย (CARIAA) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยมูลค่า 70 ล้านดอลลาร์และใช้เวลา 7 ปี เพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ในการทำความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาในแอฟริกาและเอเชีย

 

โครงการ CARIAA ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มวิจัยร่วมระหว่างภูมิภาค 4 กลุ่ม จะให้ความสนใจไปยัง “ฮอตสปอต” 3 จุดทั่วโลก ได้แก่ พื้นที่กึ่งแห้งแล้งในแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียกลาง, พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำในแอฟริกาและเอเชียใต้ และลุ่มน้ำหิมาลายัน เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่จริง โครงการดังกล่าวครอบคลุมการดำเนินงานในหลายประเทศ ภูมิภาค และภาคส่วนต่างๆ โดยใช้จุดฮอตสปอตเป็นฐานการวิจัย ทั้งนี้ ในแอฟริกา โครงการ CARIAA จะช่วยแก้ไขปัญหาในฮอตสปอต 2 จุด ได้แก่ พื้นที่กึ่งแห้งแล้งในแอฟริกาตะวันออก ตะวันตก และตอนใต้ รวมถึงพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลตาและแม่น้ำไนล์

 

“งานวิจัยนี้จะก่อให้เกิดข้อเสนอแนะที่ผู้ร่างนโยบายและผู้มีอำนาจตัดสินใจในท้องถิ่นสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยจะช่วยให้บรรดานักธุรกิจ กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจ และชุมชนเศรษฐกิจท้องถิ่น สามารถพัฒนานโยบายและกลยุทธ์การลงทุนที่จะช่วยลดปัญหาความยากจนและช่วยให้ประชาชนปรับตัวได้ดีขึ้น” Jean Lebel ประธาน IDRC กล่าว “นอกจากนั้นยังชี้ให้ภาคธุรกิจเห็นถึงแนวทางการตอบสนองต่อโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงปัจจัยขับเคลื่อนหลักอื่นๆ ในพื้นที่กึ่งแห้งแล้ง ตลอดจนแนวทางการดำเนินงานของภาครัฐในการสนับสนุนภาคธุรกิจให้ปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและห่วงโซ่คุณค่าของภาคธุรกิจ”

 

“ผมรู้สึกยินดีที่ CARIAA ให้ความสำคัญกับการพัฒนาฐานข้อมูลว่าด้วยแนวทางที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนที่ประสบปัญหามากที่สุดในโลก ทำให้ชุมชนเหล่านั้นสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เลวร้ายและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้” Virinder Sharma ที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจาก DFID Kenya กล่าว “ผมรู้สึกมีกำลังใจที่ได้ทราบว่าโครงการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำเนินงานในทุกระดับ และตั้งใจสร้างการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น ประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติตั้งแต่เริ่มต้น นอกจากนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ โครงการนี้ตั้งใจนำผลงานการวิจัยไปใช้กำหนดนโยบายและใช้งานจริง กระบวนการพัฒนาร่วมกันในลักษณะนี้จะมีบทบาทสำคัญในการส่งต่อข้อมูลหลักฐานที่เป็นประโยชน์ให้แก่บรรดาผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ”

 

รายงานจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในเดือนมีนาคมนี้ ได้คาดการณ์ไว้ว่า ภูมิภาคแห้งแล้งทั่วโลกจะยิ่งแห้งแล้งขึ้นไปเพราะภาวะโลกร้อน โดยพื้นที่ที่แห้งแล้งอยู่แล้วจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกและแหล่งน้ำก็จะลดลง ซึ่งจะสร้างแรงกดดันยิ่งขึ้นต่อผู้ที่ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต เช่น ในการทำเกษตร ประมง และป่าไม้

 

รายงานระบุว่า เมื่อถึงกึ่งกลางศตวรรษนี้ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยในช่วงฤดูร้อนในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอฟริกาอาจพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ ขณะเดียวกันฤดูเพาะปลูกอาจมีระยะเวลาลดลงถึง 20% ตามพื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาคซาเฮลในแอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตอนใต้ และแอฟริกาตะวันออก

 

นอกจากนั้น ยังมีการคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณชายฝั่ง เช่น สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและภาวะเกลือสะสมในดิน ซึ่งอาจทำให้ประชากรราว 1.3 ล้านคนต้องอพยพย้ายถิ่นภายในปี พ.ศ.2593 และคาดว่าจะเกิดผลกระทบในรูปแบบเดียวกันกับสามเหลี่ยมปากแม่น้ำหลักๆ ในอินเดียและบังกลาเทศ โดยอาจสร้างความเดือนร้อนต่อประชากรกว่า 100 ล้านคน

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังทวีความรุนแรงขึ้นเพราะแรงกดดันอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เช่น พื้นที่ริฟท์วัลเลย์ในเคนยา ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดภาวะแห้งแล้งสลับกับน้ำท่วม ส่งผลกระทบต่อประชาชน ปศุสัตว์ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่าและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ที่ดินอย่างไม่มีแบบแผน ประกอบกับรูปแบบการถือครองที่ดินที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ยังทำให้สภาพภูมิอากาศย่ำแย่กว่าเดิม แม้ว่าเกษตรกรและคนเลี้ยงปศุสัตว์ที่เข้าถึงเงินทุนได้น้อยจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุด แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั้งในเมืองและชนบท ทั้งนี้ หากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในระดับสูงสุดเท่าที่มีการคาดการณ์ไว้ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กึ่งแห้งแล้งอาจต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทั้งหมดภายในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษนี้

 

Canada's International Development Research Centre (IDRC) and the UK's Department for International Development (DFID) have announced today the selection of four multi-partner research initiatives aimed at tackling the impacts of climate change in Africa and Asia. Funded under the Collaborative Adaptation Research Initiative in Africa and Asia (CARIAA) program, a seven-year, $70 million research initiative, this work takes a fresh approach to understanding climate change and adaptation in some of the most vulnerable regions of Africa and Asia.

 

Organized around four multi-regional consortia, CARIAA will focus on three global "hot spots," namely semi-arid regions in Africa and South and Central Asia; deltas in Africa and South Asia; and the Himalayan River Basins, with a view to contributing to effective policies and action on the ground. The program straddles countries, regions, and sectors, using the hot spot itself as a lens for research. In Africa, CARIAA will address two hotspots: semi-arid regions in East, West, and Southern Africa and the Volta and Nile river Deltas.

 

"The research will produce practical advice for policymakers and local decision-makers. It will help business leaders, economic ministries, and regional economic communities develop policies and investment strategies that reduce poverty while strengthening adaptation," said IDRC President, Jean Lebel. "It will also shed light, for example, on how firms can respond to new market opportunities and threats created by climate change and other key drivers in semi-arid lands, and how governments can support them in adapting to climate change impacts on their production and value chains."

 

"CARIAA's focus on developing a robust evidence base for what works and what doesn't in assisting some of the most vulnerable communities in the world to build resilience to extreme weather events and adapt to climate change is very welcome," said Virinder Sharma, Climate Change Advisor, DFID Kenya. "I am particularly encouraged to see that the programme aims to work at all levels, and plans to engage stakeholders from local to national, regional and international levels from the outset. Particularly significant is the focus of this programme on bridging research to policy and practice. This process of collaborative development will be important in ensuring the evidence is useful to the relevant decision makers"

 

The Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) Report that will be released this March projects that the world's dry regions will become even drier due to global warming. These already harsh environments will face higher temperatures and shrinking water sources, putting further stress on those who depend on natural resources for their livelihoods, such as in farming, fishing, or forestry.

 

By mid-century, average summer temperatures across large portions of Africa could exceed the hottest temperatures on record, leading to water shortages and crop failures. The length of the growing season may decline by up to 20 percent across parts of the West African Sahel, Southern Africa, and Eastern Africa, the report adds.

 

Climate change is also expected to affect coastal regions such as the Nile Delta, which is highly vulnerable to seal level rise and soil salinization, leading to the potential displacement of around 1.3 million people by 2050. Similar impacts are projected in major deltas in India and Bangladesh, where more than 100 million people may be affected.

 

The stress of these climatic changes is compounded by development pressures in areas that are already fragile. Kenya's Rift Valley, for example, is experiencing erratic rains, with alternating droughts and floods affecting people, livestock, rangelands, wildlife, and infrastructure. Unplanned land-use changes and unstable patterns of land tenure are adding to these climate stresses. Farmers and pastoralists with little access to capital are most at risk. But the changes underway will affect both urban and rural people. If high-end projections for climate change come to pass, by the second half of this century entire livelihoods systems may need to be transformed in these semi-arid lands.