ENERGY

มพส.ชง 6 ข้อเสนอ คสช. พัฒนาพลังงานหมุนเวียน
POSTED ON 08/08/2557


พลังงานอุตสาหกรรม - นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ในฐานะประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.) ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้ มพส.ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทยที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความเห็นจากผู้มีส่วนได้และเสียต่อ "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เพื่อนำไปประกอบการจัดทำปฏิรูปราคาพลังงานต่อไป โดยแนวทางพัฒนาประกอบด้วย 6 ข้อเสนอ ได้แก่...

 

1.ให้ยกเลิกคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ เพื่อกำจัดช่องทางในการเรียกผลประโยชน์ของนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจ และสร้างความโปร่งใสการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ที่ซ้ำซ้อน เช่น ให้ยกเว้นโรงไฟฟ้าขยะที่มูลค่าเงินลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท ไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ เป็นต้น

 

2.คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้การอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าในรูปแบบ One Stop Service ออกใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำของ พพ. จำนวน 23 โครงการ ประสานงานร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายอย่างใกล้ชิดในการกำกับดูแล ลดขั้นตอนในการติดต่อและใช้ระบบส่งข้อมูลแบบ Online

 

3.การกำหนดมาตรการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนที่ชัดเจน ให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ไม่มีการอุดหนุนหรืออุดหนุนน้อยที่สุด ใช้ระบบการแข่งขันด้านราคาและหลีกเลี่ยงการให้โควตาการผลิต ควรแยกกิจการระบบผลิตไฟฟ้าออกจากกิจการระบบส่งไฟฟ้า เป็นต้น

 

4.การส่งเสริมโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาหรือ โซลาร์รูฟท็อป จำนวน 200 เมกะวัตต์ ให้เปิดเสรีไม่มีการจำกัดโควตา ขยายกำลังการผลิตติดตั้งได้เกินกว่า 10 กิโลวัตต์ และไม่จำกัดเพียงหลังคาบ้านเท่านั้น สำหรับประเภทบ้านพักอาศัย และโครงการติดตั้งสำหรับใช้เองให้สามารถใช้วิธีหักลบหน่วยมิเตอร์ได้ ส่วน โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ระดับชุมชน 800 เมกะวัตต์ มอบหมายให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้ดำเนินการแทน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และพิจารณารับซื้อไฟฟ้าโดยกระจายโครงการให้ชุมชนมีส่วนร่วมครอบคลุมทุกภาคของประเทศ โดยใช้รูปแบบ BOT และกำหนดอัตราการรับซื้อไฟฟ้าโดยใช้วิธีการประมูลแข่งขัน

 

5.การส่งเสริมโครงการพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น ส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน เพื่อกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าไปยังชุมชนที่มีศักยภาพ และเพื่อลดกระแสการต่อต้านจากชุมชน อีกทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า

 

6.มาตรการที่จะใช้ในการส่งเสริมโครงการพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ