ECONOMICS

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2562
POSTED ON 12/02/2563


 

 

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2562 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่หดตัวร้อยละ 8.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหักทอง ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 10 เดือน

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนกันยายน 2562 การผลิตหดตัว ร้อยละ 5.1 เดือนตุลาคมหดตัวร้อยละ 8.1 และเดือนพฤศจิกายนหดตัวร้อยละ 8.1

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกันยายน ตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนกันยายนหดตัว ร้อยละ 3.4 เดือนตุลาคมหดตัวร้อยละ 1.2 และเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 1.0

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนธันวาคม 2562 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ • รถยนต์ และเครื่องยนต์ หดตัวร้อยละ 19.5 ลดลงตามกำลังซื้อในประเทศที่ชะลอตัวรวมถึงสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เช่นเดียวกับปริมาณส่งออกที่หดตัวต่อเนื่อง

• น้ำตาล หดตัวร้อยละ 21.4 เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศแห้งแล้งไม่เอื้อต่อการปลูกอ้อย ส่งผลให้ค่าความหวานและปริมาณผลผลิตอ้อยลดลง

• น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 31.1 เนื่องจากผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยจากสภาพอากาศแปรปรวน การกำหนดอัตราภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นของอินเดีย และกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศลดลงตามสภาพเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนธันวาคม 2562 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

• Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 จากการได้รับคำสั่งผลิตเพิ่มขึ้นหลังจากมีการปิดฐานการผลิตที่มาเลเซียตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 และความต้องการใช้ที่มีต่อเนื่อง ซึ่งผู้ผลิตได้พัฒนาสินค้าให้มีความจุสูงรองรับข้อมูลที่มีการเติบโตและสอดคล้องกับความต้องการใช้ที่หลากหลาย

• เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 จากการส่งออกไปกลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะเวียดนาม อินโดนีเซียรวมถึงอินเดียที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น และตลาดในประเทศมีความต้องการเครื่องปรับอากาศชนิดอินเวอร์เตอร์รวมถึงมีการขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนธันวาคม 2562 การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย  การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกร

รมและส่วนประกอบ ในเดือนธันวาคม 2562 มีมูลค่า 1,483.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวจากสินค้าเครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก

• การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนธันวาคม 2562 มีมูลค่า 6,275.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากสินค้าเหล็ก ประเภทเหล็กแผ่นและผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม เคมีภัณฑ์ อาทิ เคมีภัณฑ์อินทรีย์และเม็ดพลาสติก สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

• จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 181 โรงงาน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2562 ร้อยละ 29.0 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 46.4

• มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม 2562 มีมูลค่ารวม 14,263 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2562 ร้อยละ 19.0 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 90.2

"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2562 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 11 โรงงาน และอุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบของยานดังกล่าว จำนวน 11 โรงงานเท่ากัน" "อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2562 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 2,420 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการบรรจุสินค้าทั่วไป จำนวนเงินทุน 1,227 ล้านบาท

-จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนธันวาคม 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 144 ราย ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2562 ร้อยละ 23.4 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 44.4

-เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนธันวาคม 2562 มีมูลค่ารวม 5,370 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2562 ร้อยละ 3.6  แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 74.0

"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2562 คือ อุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ จำนวน 23 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม และอุตสาหกรรมการกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน หรือเชื่อมโลหะทั่วไป ทั้ง 2 อุตสาหกรรม จำนวน 10 โรงงาน เท่ากัน

"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนธันวาคม 2562 คือ อุตสาหกรรมการถลุง หลอม หล่อ รีด ดึง เหล็กหรือเหล็กกล้า มูลค่าเงินลงทุน 1,040 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำชิ้นส่วนพิเศษ หรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์ หรือรถพ่วง มูลค่าเงินลงทุน 834 ล้านบาท"

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม