ECONOMICS

รมว.วิทย์ฯ มองโจทย์หลักรัฐบาลใหม่ต้องมีวิสัยทัศน์ พร้อมเปลี่ยนโครงสร้างศก.ให้ยืดหยุ่น รับมือการแข่งข
POSTED ON 07/01/2562


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics, Economic

รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยการสร้างประเทศต้องเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ยก S-Curve ขึ้นมา และเปลี่ยนผ่านสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว

 

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวในการสัมมนา Thailand Economic Challenges 2019 ว่า การสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 นั้นจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน (Transformation) ทั้งในเชิงโครงสร้างและเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งประเด็นท้าทายของประเทศก็คือ เมื่อโลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ซึ่งประเด็นสำคัญคือ ไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งใหม่ซึ่งถือเป็นตัวชี้ชะตาชีวิตของประเทศ

ทั้งนี้ Transformation มีด้วยกัน 3 ระดับ คือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งในระดับอุตสาหกรรม หรือ Industry Transformation การยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ขึ้นมาอีก 5 S-curve และ Digital Transformation รวมถึง Business Transformation ซึ่งมองว่าโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคตจะต้องตอบโจทย์ใน 3 เรื่อง คือ จะต้องเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่ทำให้แข่งขันได้มากกว่าเดิม, จะต้องเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่ให้โอกาสที่เท่าเทียมกับทุกคน และจะต้องเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่ไปตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้

อย่างไรก็ตามในศตวรรษที่ 21 นั้น จะขับเคลื่อนด้วย 2 สิ่ง คือ ปัญญาและเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งสำคัญ คือ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีรัฐบาลใหม่ที่แข็งแรง ที่มีวิสัยทัศน์เพียงพอที่จะชี้นำประเทศในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้ เช่น อาชีพของเยาวชนรุ่นใหม่ในอนาคตควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

ขณะที่มองเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะต้องไม่ใช่เรื่องไกลตัวและต้องตอบโจทย์สังคมให้ได้ สามารถใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ IoT, GPS และ BIG DATA โดยสิ่งที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯจะดำเนินการต่อ คือ การนำข้อมูล BIG DATA มาวิเคราะห์ในเรื่องของคน โดยเฉพาะของคนด้อยโอกาส มาวิเคราะห์ความยากจนในระดับตัวบุคคล ซึ่งในอนาคตจะทำเรื่องของสวัสดิการรายคน ว่าคนคนนี้มีปัญหาเรื่องอะไร และจะต้องตอบโจทย์อย่างไร รวมถึงการมุ่งเน้นในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ที่จะกระจายไปทุกภูมิภาค ประกอบกับโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่จะนำเอาการวิจัยนวัตกรรมสูงสุดของโลกมาอยู่ในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC