AUTOMATION

สศอ. ประกาศความพร้อม Robotics Cluster Pavilion ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสร้างมูลค่าเพิ่มทางภาคธุรก
POSTED ON 07/06/2562


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมผนึกกำลังทุกภาคส่วน ขยายผลมาตรการขับเคลื่อนการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อยกระดับผลิตภาพของเศรษฐกิจไทย และความพร้อมของ Robotics Cluster Pavilion พร้อมเปิดตัว Industrial Transformation Platform (ITP) แพลตฟอร์มดิจิทัล เชื่อมโยงผู้ประกอบการ ธนาคาร และผู้ให้บริการออกแบบระบบ (System Integrator: SI) พร้อมรวบรวมมาตรการส่งเสริมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ในจุดเดียว ( One Stop Service)

 

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยมาตรการสนับสนุนการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics & Automation) โดยร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชนจัดโครงการ Robotic Cluster Pavilion จุดประสงค์หลัก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ที่มีอย่างครบวงจรในจุดเดียว เริ่มต้นจากการขอรับการส่งเสริมการลงทุน การขอรับคำปรึกษา การประเมินความพร้อมและความคุ้มค่าในการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุนและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงการจับคู่ธุรกิจกับ System Integrator (SI) ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นเป็นปีที่สอง โดยในปีที่ผ่านมามีผลตอบรับจากนักลงทุนและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี

 

ในปีนี้ กิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานจะเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการทุกขนาดสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น ระบบ I-industry และระบบ Single Form ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการขออนุมัติ/อนุญาตกับกระทรวงอุตสาหกรรม การขอรับบริการจากศูนย์ Industrial Transformation Center (ITC) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมถึงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และสมัครเข้าโปรแกรมสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) นอกจากนี้ ยังมีธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เข้าร่วมนำเสนอโปรแกรมสินเชื่อ ได้แก่ SME Bank ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

 

ปี 2562 สศอ. ตั้งเป้าที่จะขยายผลการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปสู่ SMEs ในอุตสาหกรรม ต่าง ๆ ทั่วประเทศมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเกษตร โดยมุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือสำหรับเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนเพื่อดำเนินการ Smart farming โดยสถาบันไทย-เยอรมันได้เริ่มนำร่องในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีษะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ) เพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร เช่น การสนับสนุน Smart module เช่น ระบบเซ็นเซอร์ในการวัดตัวแปรหรือพารามิเตอร์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการประเมินปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่า ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรในระยะยาว รวมถึง มุ่งเป้าในการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น