WORLDWIDE

"ชานเทสต์" เปิดตัวห้องปฏิบัติการใหม่ ขยายบริการด้านเซลล์-ชีวโมเลกุล
POSTED ON 05/03/2557


ข่าวต่างประเทศ - ชานเทสต์ คอร์ปอเรชั่น (ChanTest Corporation) องค์กรรับทำวิจัยตามสัญญา (CRO) ซึ่งสนับสนุนการวิจัยเพื่อคิดค้นตัวยาใหม่และเพื่อทดสอบความปลอดภัยของยา ได้ขยายความสามารถในการให้บริการเกี่ยวกับเซลล์และโมเลกุล รวมถึงสารตัวทำปฏิกิริยาต่างๆ ด้วยการขยายพื้นที่ดำเนินงานเพิ่มอีกกว่า 50% ที่สำนักงานใหญ่ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

การให้บริการชั้นหนึ่งด้านเซลล์และชีวโมเลกุลยังคงเป็นหัวใจสำคัญของชานเทสต์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน ion channel การขยายห้องปฏิบัติการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการให้บริการเซลล์และสารตัวทำปฏิกิริยาเซลล์คุณภาพสูงเพื่อการวิจัยผลิตภัณฑ์ยา โดยนักวิทยาศาสตร์ของชานเทสต์ใช้เซลล์ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการแห่งใหม่สำหรับให้บริการและนำเสนอผลิตภัณฑ์ ion channel และสำหรับงานวิจัยเซลล์และโมเลกุลที่ลูกค้าจากภายนอกจ้างให้ทำ เช่น การเพาะเลี้ยงเซลล์ระดับมาตรฐาน และการพัฒนาเซลล์ตามสั่งด้วยเทคนิคขั้นสูง

 

ดร.ลุค อาร์มสตรอง ผู้อำนวยการฝ่ายเซลล์และชีวโมเลกุลของชานเทสต์ มองว่าการขยายห้องปฏิบัติการเป็นอีกก้าวที่สำคัญต่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องของชานเทสต์ “ธุรกิจการให้บริการด้านเซลล์และชีวโมเลกุลของเราขยายตัวเกือบสองเท่าในปี 2556 และเราเชื่อว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2557 ด้วย” ดร.อาร์มสตรอง กล่าว “การขยายพื้นที่จะช่วยให้ชานเทสต์สามารถรองรับความต้องการที่กำลังเพิ่มมากขึ้นของลูกค้าได้เป็นอย่างดี”

 

ดร.นพ.อาร์เธอร์ “บัซ” บราวน์ ผู้ก่อตั้ง ประธาน และซีอีโอของชานเทสต์ กล่าวเสริมว่า “ชานเทสต์นำเสนอบริการและสารทำปฏิกิริยาที่มีคุณภาพสูงสุดสำหรับการวิจัยเพื่อคิดค้นตัวยาใหม่และเพื่อทดสอบความปลอดภัยของยาที่เกี่ยวกับ ion channel ซึ่งการขยายห้องปฏิบัติการใหม่เมื่อปลายปี 2556 ได้ช่วยให้ชานเทสต์สามารถรักษาคุณภาพของบริการที่มีมาอย่างยาวนานเอาไว้ได้”

 

ห้องปฏิบัติการใหม่ของชานเทสต์เปิดดำเนินงานเต็มรูปแบบแล้ว และประกอบด้วย        

 

● ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเซลล์สุดทันสมัยหลายห้อง

● รองรับเซลล์ที่เกาะอยู่ก้นขวดเพาะเลี้ยงเซลล์ได้มากถึง 1 หมื่นล้านเซลล์

● ตู้แช่แข็งแบบควบคุมอุณหภูมิซึ่งสามารถเก็บรักษาเซลล์ได้ 600 ขวด

● สามารถจัดเตรียมเยื่อหุ้มเซลล์ที่มีโปรตีนสูงสุด 2 กรัม

● เครื่อง electroporator ซึ่งสามารถผลิตเซลล์ทรานส์เฟกได้ 3 พันล้านเซลล์

● เครื่องคัดแยกเซลล์ (FACSAria)

● ห้องปฏิบัติการด้านชีวโมเลกุล

● ห้องปฏิบัติการไอโซโทปรังสี (สร้างเสร็จในเดือนมีนาคม 2557)