VEHICLES

Polyplastics เปิดตัวผลิตภัณฑ์ DURANEX(R) เกรด PBT รุ่นใหม่ สำหรับการใช้งานด้านยานยนต์
POSTED ON 30/09/2562


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

Polyplastics Group ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ DURANEX(R) เกรดพอลิบิวทิลีนเทเรฟทาเลต (PBT) รุ่นใหม่ เป็นวัสดุเกรดหน่วงไฟ เสริมแรงด้วยแก้ว 30% พร้อมด้วยคุณสมบัติการบิดงอต่ำ มีความแข็งสูง อีกทั้งต้านทานความร้อนและความชื้น

DURANEX(R) 750AM เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานด้านยานยนต์ อาทิ อุปกรณ์การสื่อสาร และชิ้นส่วนแรงดันสูง สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) และรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEVs)

 

จนถึงปัจจุบัน ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะตอบสนองความต้องการทั้งในด้านการทนไฟและการต้านทานการสลายตัวจากน้ำ เนื่องจากการต้านทานการสลายตัวจากน้ำโดยปกติแล้วจะลดลงเมื่อมีการเพิ่มองค์ประกอบ FR ทั้งนี้ ตลาดยานยนต์มีความต้องการวัสดุ FR เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในอุปกรณ์การสื่อสารและชิ้นส่วนแรงดันสูงสำหรับรถยนต์ประเภท EVs และ HEVs ขณะเดียวกัน วัสดุเหล่านี้ยังต้องตอบสนองความต้องการคุณสมบัติทนทานสูงและความสามารถในการขึ้นรูปที่โดดเด่นจากอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ DURANEX(R) 750AM และวัสดุ PBTs อื่นๆ ยังสามารถตอบสนองความต้องการการใช้งานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ อีกด้วย

 

Polyplastics สามารถผลิตวัสดุ PBT ที่มีการบิดงอต่ำ อาทิ DURANEX(R) 750AM ผ่านทางสามวิธี ได้แก่ วิธีที่หนึ่ง แอนไอโซโทรปี (Anisotropy) ของอัตราการหดตัวสามารถลดลงได้ด้วยการใช้สารเติมแต่ง (filler) แบบแผ่นโลหะทรงกลม ที่มีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (aspect ratio) ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับฟิลเลอร์แบบใยแก้ว วิธีนี้ช่วยลดการบิดงอ แต่ก็สามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อความแข็งแรงทางกล (mechanical strength) ได้เช่นกัน

 

วิธีที่สอง ค่าสัมบูรณ์ของอัตราการหดตัวสามารถลดลงได้โดยการขึ้นรูปอัลลอยด้วยเรซิ่นแบบอสัณฐาน (amorphous) อาทิ พอลิคาร์บอเนต (PC) และสไตรีน-อะคริโลไนไตรล์ (SAN) วิธีนี้ส่งผลให้ความแข็งแรงทางกลลดลงเล็กน้อย แต่ขณะเดียวกัน เรซิ่นแบบอสัณฐานกลับมีผลกระทบต่อคุณสมบัติทางความร้อนและปัจจัยอื่นๆ ด้วย วิธีที่สาม ความสามารถในการไหลที่ดีขึ้น และการกระจายตัวของความดัน (การกระจายอัตราการหดตัว) ทีลดลงภายในโพรง สามารถลดการบิดงอลงได้ แม้ไม่มากเท่าสองวิธีดังที่กล่าวมาก่อนก็ตาม