TECHNOLOGY

ZTE โชว์ความพร้อมก้าวสู่การใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ ที่งาน MWC Shanghai 2019
POSTED ON 26/06/2562


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

ZTE Corporation (0763.HK / 000063.SZ) ผู้ให้บริการรายใหญ่ของโลกด้านโซลูชั่นโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมือถือสำหรับองค์กรและผู้บริโภค พร้อมเผยการพัฒนาเชิงพาณิชย์ล่าสุดในด้านเทคโนโลยี 5G แบบ end-to-end ที่งาน Mobile World Congress (MWC) Shanghai 2019 ซึ่งจะเปิดฉากในวันที่ 26 มิถุนายน

 

ที่งานนี้ ZTE จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับหลักการ "สร้างเครือข่าย 5G ด้วยการดำเนินการพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 4 แนวทาง ได้แก่ บวก ลบ คูณ และ หาร" รวมทั้งจะนำเสนอความสำเร็จล่าสุด ตลอดจนจัดแสดงอุปกรณ์เทอร์มินัล 5G ในส่วนของโซลูชั่น 5G แบบ end-to-end, การใช้งาน 5G&4G ครอบคลุมทุกสถานการณ์, การติดตั้งใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์, ระบบอัจฉริยะเครือข่าย AI, เครือข่ายแบบ on-demand, ระบบนิเวศ 5G แบบเปิด และการใช้งานเด่น ๆ ในเชิงอุตสาหกรรม โดย ZTE ต้องการส่งข้อความไปทั่วโลก ว่า ZTE พร้อมแล้วสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบในยุค 5G แบบ end-to-end

ZTE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างเครือข่าย 5G ที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคม โดยยึดมั่นในหลักการ "บวก ลบ คูณ และ หาร"

 

  • หลักการลบ: ด้วยเป้าหมายที่จะสร้าง "สุดยอดเครือข่ายที่เรียบง่าย" บริษัทจึงได้คิดค้นโซลูชั่นเครือข่ายย่อขนาด UniSite ซึ่งสามารถจับคู่ความแตกต่างเพื่อรองรับสถานการณ์ที่หลากหลาย อาทิ พื้นที่เขตเมืองที่หนาแน่น พื้นที่ในอาคาร ถนนสายต่างๆ พื้นที่เขตเมืองทั่วไป และอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง โดยสัญญาณวิทยุ Ultra-band Radio (UBR) จะรวมย่านความถี่หลัก 3 ย่าน ได้แก่ 900 M, 1800 M และ 2100 M เข้าด้วยกัน ทำให้จำนวนของอุปกรณ์ในไซต์ลดลงถึง 2 ใน 3 และเมื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ RRU แบบบิวท์อิน เสาอากาศแบบเสาเดียวจึงสามารถรองรับ Sub3GHz ในย่านความถี่ที่หลากหลายทั้ง 2/3/4/5G เพื่อช่วยให้ติดตั้งเสาอากาศได้สะดวกง่ายดายที่สุด
  •  

ขณะเดียวกัน ด้วยเป้าหมายที่จะสนับสนุนการบูรณาการและการใช้งาน 4/5G ร่วมกันในระยะยาว อุปกรณ์สถานีฐานตัวแรกของอุตสาหกรรมจึงรองรับทั้ง 4/5G dual-mode และ 5G NSA&SA dual-mode ทำให้กลายเป็นเครือข่ายฮาร์ดแวร์แบบ 3 โหมดที่ช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถประสบความสำเร็จในการพัฒนาในระยะยาวได้

 

นอกจากนี้ เพื่อตอบโจทย์ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ต้องการสร้างและใช้งานเครือข่ายร่วมกัน จึงมีการเปิดตัวสถานีฐานที่มีแบนด์วิธขนาดใหญ่และครบวงจรบนคลื่น dual-200 MHz เพื่อช่วยประหยัดการลงทุนในเครือข่ายโดยรวม และเร่งการใช้ 5G เชิงพาณิชย์ให้เร็วขึ้น

 

เพื่อรวมสถาปัตยกรรมเครือข่ายให้เป็นเครือข่ายที่เรียบง่ายเพียงหนึ่งเดียว ZTE จึงได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม IT BBU ที่ใช้ได้กับทุกมาตรฐาน และมีความจุขนาดใหญ่พิเศษ โดยรองรับการรวมเครือข่ายแบบ multi-mode และการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวด้วย baseband ที่เรียบง่ายที่สุด

 

ZTE ยังได้เปิดตัว 5G Common Core เชิงพาณิชย์เป็นรายแรกในอุตสาหกรรมเช่นกัน โดยรองรับการรวมเครือข่ายและการเข้าถึงเครือข่ายทั้งหมดอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น 2/3/4/5G/fixed, 3GPP R15 SA และ NSA อีกทั้งช่วยประหยัดงบลงทุนให้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้ 40%

 

บริษัทได้สร้างเครือข่ายการส่งข้อมูลที่เรียบง่ายและยืดหยุ่น โดยเลเยอร์ของเครือข่ายถูกปรับให้เรียบง่ายด้วยผลิตภัณฑ์ครบวงจรแบบ all-in-one ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมโปรโตคอลแบบดั้งเดิมจาก 6 เลเยอร์ให้เหลือ 4 เลเยอร์ เพื่อเริ่มต้นการให้บริการได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ มีการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติที่หลากหลายกับเครือข่าย เพื่อการหาตำแหน่งที่ผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว

 

โดยชิปแบบ 3-in-1 ที่บริษัทพัฒนาขึ้นเอง ทำหน้าที่รวม FlexE, NP (Network Processor) และ SA (Switching Access) เข้าด้วยกัน เพื่อลดการกินไฟของอุปกรณ์ลงกว่า 40% ต่อ Gbit

 

หลักการบวก: +MEC เพื่อการใช้งาน edge และ +AI เพื่อเพิ่มความเป็นอัจฉริยะให้กับเครือข่าย โดย ZTE MEC รองรับการเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สายและเครือข่ายพื้นฐาน รวมทั้งระบบ 4G/5G/WiFi multiple ที่มอบขีดความสามารถในการตรวจจับสัญญาณไร้สายแบบเปิด สำหรับการใช้งาน 5G เชิงอุตสาหกรรม ขณะที่แพลตฟอร์มคลาวด์แบบ dual-core ยังปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้เป็นอย่างมาก

 

เซิร์ฟเวอร์ MEC แบบครบชุดของ ZTE สามารถจับคู่สถานการณ์การใช้งานที่ต่างกัน อีกทั้งยังสนับสนุนการเร่งการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้เร็วขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการความหน่วงต่ำพิเศษ และแบนด์วิธที่สูงเป็นพิเศษของบริการ edge รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากร CPU และ footprint

 

ขณะที่ชุดอุปกรณ์ AI Engine ที่ ZTE พัฒนาขึ้นนั้น ถูกนำไปใช้ในเครือข่าย 5G แบบทุกสถานการณ์แล้ว เพื่อให้เกิด zero touch, การหาตำแหน่งที่ผิดพลาดอย่างรวดเร็ว และการเพิ่มประสิทธิภาพบนเครือข่าย รวมทั้งทำให้สามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายด้วยระบบอัตโนมัติที่มี AI เป็นขุมพลัง

หลักการหาร: ZTE จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการแบ่งเครือข่าย (network slicing) เพื่อให้สามารถใช้เครือข่ายซ้ำได้ ตลอดจนลดต้นทุนในการสร้างเครือข่าย และ O&M, ลดการใช้งานที่มีข้อผิดพลาด และเพิ่มความเร็วออนไลน์ โดยระบบการแบ่งเครือข่าย 5G ของ ZTE สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ และมีศักยภาพในการให้บริการลูกค้าแนวตั้งที่มีความหลากหลายในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถให้บริการนับพันบริการบนหนึ่งเครือข่าย

 

หลักการคูณ: เครือข่าย 5G เพิ่มจำนวนเป็นทวีคูณด้วยอุตสาหกรรมแนวตั้ง โดยเมื่อผนวกกับ AI, cloud computing, big data, edge computing และ Internet of Things เครือข่าย 5G จะสามารถใช้ได้กับอุตสาหกรรมแนวตั้งทุกกลุ่ม เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการในพื้นที่ใหม่ ๆ ของเครือข่าย 5G

 

สำหรับการออกใบอนุญาตเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ในจีนนั้น ZTE และผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่อีกสามรายได้เริ่มสร้างเครือข่ายอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ซึ่งที่งาน MWC Shanghai 2019 ในครั้งนี้ ทาง ZTE จะนำเทคโนโลยี 5G ต่าง ๆ มาจัดแสดงที่บูธของผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ทั้งสามราย อาทิ การสาธิต MIMO สำหรับมัลติ-ยูสเซอร์ในสภาพแวดล้อมเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ, การสาธิตวิดีโอ 5G mmWave 16-channel 4K HD, การขับขี่ไร้คนขับด้วยรีโมท, ระบบควบคุมแบบแม่นยำด้วยรีโมทหุ่นยนต์, การสื่อสารแบบฮอโลกราฟฟิก 5G+AR และการมีปฏิสัมพันธ์ในพื้นที่เสมือนจริง และโทรศัพท์มือถือ 5G หลากหลายแบรนด์ที่สามารถเล่นเกมบนคลาวด์โดยใช้อุปกรณ์รับส่งข้อมูลทางอากาศ (air interface) แบบใหม่บนเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ของ ZTE