TECHNOLOGY

KCP Energy Saving จับมือเอกชนจีนพัฒนาแกรฟีนนาโนเทคฯ สำหรับใช้ผลิตแบตฯรถอีวี
POSTED ON 12/02/2561


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

 

บริษัท KCP Energy Saving จำกัด ในประเทศไทย ได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัท Zhongshang Guoneng Group Xiamen Branch และ บริษัท Hengli Shengtai Graphene Technology จากมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการใช้แกรฟีนนาโนเทคโนโลยีสำหรับผลิตแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า

 

นายอเล็กซานดร้า เดวิส (Alexandra Davis) กรรมการ บริษัท KCP Energy Saving กล่าวว่า ในช่วงทศวรรษ 1760 เครื่องจักรไอน้ำได้ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน รูโหว่ในชั้นโอโซน ภาวะขาดแคลนพลังงาน และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม รัฐบาลนานาประเทศเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ขณะที่เทคโนโลยีก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมด

 

สำหรับ “แกรไฟต์” (graphite) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของธาตุคาร์บอนที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์และสามารถนำไปใช้งานเชิงอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมโลหะ เคมี เครื่องจักร เครื่องมือแพทย์ นิวเคลียร์ ยานยนต์ อากาศยาน ฯลฯ ขณะเดียวกัน “แกรฟีนนาโนเทคโนโลยี” ก็เป็นนวัตกรรมใหม่ของการใช้งานแกรไฟต์ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบชาร์จเร็วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ซึ่งทาง KCP จะร่วมมือกับบริษัทจากมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน เพื่อส่งเสริมการใช้แกรฟีนนาโนเทคโนโลยีดังกล่าว

 

โดย KCP, Zhongshang Guoneng Group Xiamen Branch และ Hengli Shengtai จะร่วมกันสนับสนุนการใช้แกรฟีนนาโนเทคโนโลยีที่จะช่วยแก้ปัญหาประสิทธิภาพการผลิตต่ำและแบตเตอรี่ลิเธียมคุณภาพต่ำ ทั้งยังสามารถผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมได้ในปริมาณมากด้วย

 

ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ KCP ได้พัฒนาความก้าวหน้าในการบุกเบิกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้รับการสนับสนุนจากที่ปรึกษาด้านการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยเจ้าของรางวัลโนเบลอย่าง ศาสตราจารย์คอนสแตนติน โนโวเซโลฟ (Prof. Konstantin Novoselov) และ ศาสตราจารย์อังเดร ไกม์ (Prof. Andre Geim) แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ โดย KCP มุ่งมั่นที่จะใช้ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใหม่ล่าสุด เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างเต็มที่ และประสบการณ์ที่ผ่านมา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปกป้องและแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม