SPECIAL FEATURES

"หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์" คำตอบของการเพิ่มผลผลิต
POSTED ON 23/05/2559


 

ภาคส่วนการผลิตของประเทศไทยมีอัตราสูงที่สุดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศโดยคิดเป็นร้อยละ 40 จากการที่มีคู่แข่งสินค้านำเข้าจากจีน และอุปสงค์จากตลาดท้องถิ่นที่ค่อนข้างต่ำ ภาคส่วนการผลิตของประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวมจึงมีความเปราะบางต่อการสูญเสียรายได้ หากผู้ผลิตไม่เริ่มต้นที่จะเพิ่มผลิตผลจากโรงงาน และลดค่าใช้จ่าย

 

เอสเอ็มอีในภาคส่วนการผลิตนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลายประการ อาทิ ข้อจำกัดของพื้นที่และงบประมาณ รวมทั้ง ความขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ อย่างไรก็ตาม ก็มีความเป็นไปได้สำหรับเอสเอ็มอีที่จะประสบความสำเร็จ โดยอาศัยประโยชน์จากการนำออโตเมชั่นมาใช้ในกระบวนการทำงานประจำวันในโรงงานผลิต

 

ในระดับโลก ร้อยละ 56 ของบริษัททั่วโลกกำลังใช้ออโตเมชั่น หรือวางแผนที่จะนำมาใช้งานภายในปีนี้ จากการสำรวจเมื่อปีพ.ศ. 2558 ใน 36 เขตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การสำรวจเดียวกันนี้ชี้ว่า เพียงร้อยละ 36 ของธุรกิจในไทยเท่านั้นที่นำเอาออโตเมชั่นมาใช้งาน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

 

สถิติข้างต้นเป็นตัวกระตุ้นเตือน ขณะที่สภาพการทำงานในสภาวะที่เป็นโรงงานนั้นอาจจะต้องกินเวลาหลายชั่วโมงปฏิบัติงานซ้ำๆ เดิมๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดที่เลี่ยงไม่ได้ขึ้นมา ดังนั้น เอสเอ็มอีสามารถพิจารณาตัวเลือกที่จะใช้ออโตเมชั่น เช่น หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ (Collaborative Robots หรือ Co-bots) เข้ามาใช้ในสายการผลิตเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปฏิบัติงานในการทำชิ้นงานที่ต้องอาศัยความบากบั่นอุตสาหะ

 

หุ่นยนต์ Co-bots เหมาะสำหรับโรงงาน

 

Co-bots เป็นหุ่นยนต์ที่มีแขนกลที่เคลื่อนไหวคล่องตัว และเคลื่อนย้ายได้สะดวก ทำให้เหมาะสำหรับโรงงานที่มีแผนผังงานโปรดักชั่นตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โดย co-bots ส่วนมากจะมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มักจะมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ และต้องทำชิ้นงานที่มีความซ้ำซากจำเจ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูป หล่อแบบ ไปจนถึงงานประกอบชิ้นส่วน ขณะที่ในปัจจุบันสิ่งสำคัญในสภาพแวดล้อมการผลิตที่ต้องอาศัยความรวดเร็วคือความยืดหยุ่นคล่องตัว

 

จากภาวะการแข่งขันในหมู่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ทวีความเข้มข้นขึ้น ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ จึงหันมาพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อให้เป็นตัวที่สร้างความแตกต่างโดดเด่นจากคู่แข่ง โดยอิงจากประเภทของแอพพลิเคชั่น และพบว่าหนึ่งหรือหลาย co-bots สามารถที่จะทำงานเคียงข้างกับมนุษย์ในโนโรงงานได้

 

เมื่อได้สรุปชิ้นงานให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ปฏิบัติงานสามารถตั้งค่าโปรแกรมให้หุ่นยนต์ทำกิจกรรมตามที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมยุ่งยากด้านวิศวกรรมใดๆ เลย

 

ข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่ง คือ co-bots มีช่วงคืนทุนที่รวดเร็วกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีข้อจำกัดด้านการเงิน นอกจากนี้ การยกระดับทักษะด้านการปฏิบัติงานก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องไม่มองข้าม

 

เมื่อ co-bots มาทำงานบนสายการผลิต ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำชิ้นงานอื่นที่ต้องอาศัยความประณีตละเอียดอ่อนมากกว่า เช่น การวางแผนงานหรือรับผิดชอบคุมงาน แรงงานที่มีทักษะนั้นสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิผลได้ และส่งผลอย่างยิ่งต่อการเติบโตของธุรกิจ

 

เจ้าของธุรกิจมีตัวเลือกที่จะเพิ่มประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ และสานสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในองค์กรของตน ออโตเมชั่นของกระบวนการผลิตเป็นตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในพื้นที่การผลิต เพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน และช่วยผลักดันธุรกิจให้เติบโตขึ้นอีกระดับในระยะยาว

 

Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics