SPECIAL FEATURES

การนำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิต
POSTED ON 26/08/2558


 

บทความโดย เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

ยุคแห่งหุ่นยนต์

 

นายมาซาโยชิ ซัน ประธานบริษัทซอฟต์แบงก์กรุ๊ปแห่งญี่ปุ่น ได้ทำนายไว้ในเดือนมิถุนายน2558 นี้ว่า จำนวนของหุ่นยนต์จะเติบโตแซงหน้าจำนวนประชากรมนุษย์ภายในอีก 30 ปีข้างหน้า ด้วยผู้คนต่างก็ชื่นชอบหุ่นยนต์ที่เลียนแบบกิริยาท่าทางมนุษย์และปฏิบัติงานต่างๆ ได้ ดังนั้น จึงเป็นข่าวดีของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในการนำหุ่นยนต์มาติดตั้งใช้งานเป็นจำนวนมาก ตามรายงานการสำรวจโดยสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติชี้จำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลกปัจจุบันมีมากกว่า 200,000 ตัว เมื่อปี 2557 โดยความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 12% ต่อปีนับจากปี 2558 ถึง 2560

 

เลือกสรรการลงทุนอย่างชาญฉลาด

 

นอกจากบริษัทที่มีสายการผลิตขนาดใหญ่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้แล้ว ธุรกิจขนาดเอสเอ็มอีก็สามารถนำมาใช้งานได้อย่างดี ด้วยขนาดที่กะทัดรัดและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยของหุ่นยนต์รุ่นใหม่ๆ แต่เมื่อต้องการลงทุนเริ่มต้นก็เป็นประเด็นสำคัญที่เอสเอ็มอีต้องระแวดระวังเป็นอย่างยิ่ง และมักจะอิงกับมาตรการการเงินดังนี้

 

1.ระยะเวลาคืนทุน : ติดตามผลเป็นรายปี และระยะเวลาที่การลงทุนนั้นใช้เพื่อให้ได้กระแสเงินสดรับสุทธิที่ได้จากการลงทุนคุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องลงทุนไป มีข้อเสียเปรียบหลายประการในการวัดความเสี่ยงการลงทุนด้วยวิธีนี้ อาทิ วิธีการนี้มิได้หมายรวมถึงรายรับอนาคตเมื่อผ่านจุดคุ้มทุน หมายความว่ามูลค่าระยะยาวที่ได้รับจากการลงทุนไปกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้นมิได้สะท้อนรวมอยู่ในสมการนี้ด้วย

 

2.ผลตอบแทนจากการลงทุน : มักจะแสดงเป็นอัตราส่วน คำนวณยอดกำไรสุทธิของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย โดย นายรอน พอตเตอร์ ผู้อำนวยการ Robotics Technology for Factory Automation Systems, Inc. ตั้งข้อสังเกตว่า“บริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่มีวิธีการแบบดั้งเดิมในการคำนวณผลตอบแทน และจะอิงการลดต้นทุนค่าแรงงงาน (direct labor savings) และผลประโยชน์ระยะสั้น แต่ผลประโยชน์จริงๆ แล้วของหุ่นยนต์มิได้อยู่ในแบบระยะสั้น”

 

ข้อควรคำนึง 3 ประการ

 

มีวิธีการลดต้นทุนทางอ้อม และเพิ่มประโยชน์ที่เกี่ยวข้องที่อาจจะไม่ได้สะท้อนอยู่ในตัวเลขผลตอบแทนจากการลงทุน หรือระยะเวลาคืนทุน เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณาเมื่อตัดสินใจที่จะนำหุ่นยนต์มาใช้งาน เช่น ค่าใช้จ่ายแรงงาน ความเสถียรในกระบวนการผลิต และเวลาที่เสียไปกับการหาพนักงานและอบรมพนักงาน

 

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นเครื่องจักรกลแบบออโตเมตที่สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง แม้ปิดไฟโรงงานหลังพนักงานกลับบ้านกันไปหมดแล้วก็ตาม นอกเหนือไปจากการตรวจสอบตามตารางการบำรุงรักษาปกติแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีสวัสดิการพนักงาน อาทิ การลาป่วย หรือประกันสุขภาพ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เลยกับเจ้าหุ่นยนต์เหล่านี้ จะเห็นได้ชัดว่าเข้ามาช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการว่าจ้างลงได้มากเมื่อตัองสินใจนำหุ่นยนต์มาติดตั้งใช้งาน

 

นอกจากนี้ ความเสถียรในกระบวนการผลิตคือสิ่งที่โรงงานจะได้รับเมื่อติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมใช้งานในโรงงานในสายการผลิต โดยหุ่นยนต์สามารถที่จะการันตีได้ถึงชิ้นงานที่มีความสม่ำเสมอ คุณภาพสูง ด้วยระบบการทำงานที่เคลื่อนที่ด้วยความเที่ยงตรง ป้องกันการเสียเปล่าของวัสดุ ซึ่งจุดนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับภาคการผลิตที่ต้องการความเที่ยงตรงแม่นยำ หรือชิ้นงานขนาดเล็กที่มีราคาสูง

 

เวลาคือเงินในภาคการผลิต ส่วนงานที่มีหุ่นยนต์มาเกี่ยวข้องนั้น จะประหยัดเวลาลงไปได้ในส่วนที่เคยใช้เพื่อการสรรหาคนงาน ซึ่งไม่จำเป็นอีกต่อไป สามารถตั้งสายการผลิตได้รวดเร็ว ซึ่งชดเชยเวลาที่เสียไปกับการสรรหาว่าจ้างคนงานเข้าโรงงานชดเชยคนที่ออกไป เป็นต้น

 

แหล่งงานใหม่

 

ความนิยมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในเอเชียนั้นมิได้หมายถึงแต่สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยสำหรับคนงานเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสร้างงานให้อีกด้วย รายงานในปี 2556 โดยเมตรา มาร์เทค คาดการณ์ว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะสร้างงานระหว่าง 900,000 ถึง 1.5 ล้านตำแหน่ง ระหว่างปี 2012-2016 ตัวอย่างเช่น มีกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเท่านั้นจึงจะมีศักยภาพพอที่จะให้ผลิตผลที่เที่ยงตรงแม่นยำ มีคุณภาพเสมอต้นเสมอปลาย ในราคาที่สามารถแข่งขันได้ เช่นในธุรกิจอุปกรณ์เพื่อสันทนาการ เป็นต้น

 

ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแข่งขันสูง เช่น โทรศัพท์และแท็บเล็ต ต่างกดราคาสินค้าลง เป็นเหตุให้เพิ่มความกดดันแก่ผู้การผลิตที่ต้องตัดค่าใช้จ่ายต่างๆ การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตั้งราคาสินค้าของตนให้แข่งขันได้ ช่วยกระบวนการกระจายสินค้าและปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าทางอ้อม และสร้างงานเพื่อสนับสนุนรองรับกิจกรรมการค้าขายได้อีกด้วย

 

คิดอย่างก้าวไกล มองไปเบื้องหน้า

 

จากการที่มีผู้นำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาติดตั้งใช้งานในโรงงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก จึงยิ่งเป็นการเพิ่มความสำคัญสำหรับผู้ผลิตที่เป็นเอสเอ็มอีที่จะพิจารณาลงทุนกับเทคโนโลยี เพื่อรักษาสถานภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจ มาตรการรูปแบบที่ใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการลงทุนมักจะไม่สะท้อน ภาพรวมทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับหุ่นยนต์ที่มีมูลค่าในระยะยาว ผู้ผลิตจำเป็นต้อง มองข้ามการลงทุนแรกเริ่ม และพิจารณา การประหยัดลดค่าใช้จ่ายในแง่ของเวลาและวัสดุสิ้นเปลือง

 

Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics