MANUFACTURING

อุตฯ มีแนวโน้มเลิกต่ออายุรง.4 หวังลดต้นทุนโรงงาน ผันเงินพัฒนาอุตสาหกรรมากขึ้น
POSTED ON 26/10/2561


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing

ก.อุตฯ มอบของขวัญโรงงานอุตสาหกรรม จ่อยกเลิกการต่ออายุ ร.ง.4 จาก เดิมที่ต้องต่อ 5 ปี/ครั้ง เสนอครม. หวังประกาศใช้ได้ภาย ในต้นปีหน้า ชี้เป็นแนวทางลดภาระและต้นทุนของโรงงานให้เกิดการลงทุนเพิ่ม นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เร่งทำการปฏิรูปกระบวนการให้บริการผู้ประกอบการได้รับความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใสทุกขั้นตอน โดยกำลังปลดล็อกกระบวนการขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรง งาน (ร.ง.4) เพื่อให้ผู้ประกอบ การโรงงานที่ต้องต่อใบอนุญาต ทั่วประเทศกว่า 60,000 แห่ง ไม่ต้องมาต่ออายุ ร.ง.4 ที่จากเดิมต้องต่อ 5 ปีต่อครั้ง และสามารถดำเนินธุรกิจต่อเนื่องไม่ติดขัดเรื่องนี้อีกต่อไป

โดยจะเตรียมเสนอคณะ รัฐมนตรี (ครม.) ภายในเร็วๆ นี้ เพื่อให้ส่งต่อไปยังสภานิติ บัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา และออกมากำหนดใช้ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ทั้งนี้มองว่าการปลดล็อกดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ประกอบการได้ รับความสะดวกในการประ กอบกิจการมากขึ้น และเป็น การยกระดับการบริหารงานภาค รัฐให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงลดภาระและความยุ่งยากในการขอต่ออายุใบ ร.ง.4 ส่งผลให้มีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และนำเวลาไปยกระดับการประกอบกิจการโรงงานด้านการผลิต ความปลอดภัยและจัดการมลพิษให้เพิ่มขึ้น

"การที่กำหนดว่าโรงงานไม่ต้องมาต่อใบอนุญาต ร.ง.4 แล้ว อาจจะมองว่าทำให้รัฐสูญเสียรายได้ค่าธรรมเนียมที่เคยเก็บมาตลอดนั้น อาจจะไม่ถูกมากนัก เนื่องจากภารกิจของ กรอ. ไม่ได้มีหน้าที่หารายได้ แต่จะต้องทำงานร่วมกันกับเอกชน เพื่อตอบสนองความต้องการและพัฒนาอุตสาหกรรม นโยบายนี้ก็จะช่วยลดภาระและต้นทุนที่ไม่จำเป็นของโรงงานไป แต่ไม่ได้ทำให้ระบบล้มเหลว อาจจะลดเงินที่เก็บเข้ากรมไปบ้าง แต่เพิ่มความพึงพอใจ ลดความกังวล และสนับ สนุนการลงทุนไปด้วยในตัว ซึ่งถือว่าคุ้มค่า" นายอุตตม กล่าว

อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวจะกำหนดในร่าง พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. ... ที่อยู่ระหว่างขั้นการปรับปรุงให้ทันสมัย โดยจะให้เร่งนำเสนอแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาภายในเดือน ต.ค.นี้ และคาดว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของ สนช. และมีผลบังคับใช้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้ประกอบการในต้นปีหน้า