MANUFACTURING

กนอ. ลงนามร่วมกัน ซีจี ตั้งนิคม CPGC รองรับ EEC เปิดเฟส 1 ปี 2562 แล้วเสร็จปี 2564
POSTED ON 24/08/2561


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

นางสุวัฒนา กมลวัทนนิศา รองผู้ว่าการการนิคมอุสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยภายหลังร่วมลงนามจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมซีพีจีซี บนพื้นที่ประมาณ 3,068 พันไร่ ร่วมกับ บริษัท ซี จี คอร์เปอเรชั่น จำกัด ว่า การนิคมฯ ได้ลงนามร่วมกับบริษัท ซี จี คอร์เปอเรชั่น จำกัด เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมซีพีจีซี ใน จ.ระยอง รองรับนักลงทุนที่สื่อสารด้วยภาษาจีน เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน จีน และกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายอีอีซี โดยได้เลือกพื้นที่ใน ต.มาบข่า และ ต.มาบข่าพัฒนา ใน อ.นิคมพัฒนา และ ต.หนองระลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง รวมเนื้อที่ประมาณ 3,068 ไร่ ใช้รูปแบบการร่วมดำเนินงานที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนพัฒนาและให้บริการสาธารณูปโภค คาดว่ามูลค่าการลงทุนของโครงการจะอยู่ที่ประมาณ 5,600 ล้านบาท มั่นใจว่าจะทำให้ภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกขยายตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างระยะแรกพร้อมแล้วเสร็จภายในปีหน้า

 

สำหรับทำเลที่ตั้งและลักษณะพื้นที่โครงการแบ่งเป็น เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 2,205 ไร่ เขตพาณิชยกรรม 112 ไร่ พื้นที่ระบบสาธารณูปโภค 443 ไร่ พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 307 ไร่ สามารถเชื่อมโยงเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซีทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ได้อย่างสะดวกสบาย เพราะมีเครือข่ายเส้นทางคมนาคมที่มีศักยภาพ สามารถเชื่อมต่อกับนิคมฯ ในกลุ่มพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ อาทิ นิคมฯสมาร์ต ปาร์ก (Smart Park) นิคมฯอาร์ไอแอล นิคมฯเอเชีย ระยอง นิคมฯเอเชีย ระยอง นิคมฯเหมราชตะวันออก นิคมฯผาแดง และนิคมฯมาบตาพุด เป็นต้น

 

“คาดว่าโครงการน่าจะมีความเป็นไปได้ทางการตลาดสูงเนื่องจากอยู่ในทำเลที่ตั้งที่ได้รับความสนใจ อีกทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยังได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้มาตรการส่งเสริมของอีอีซี โดยตั้งเป้าหมายขายพื้นที่ได้หมดภายในระยะเวลา 6 ปี ทำให้เกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 60,000 ล้านบาท และการจ้างงานไม่น้อยกว่า 20,000 อัตรา” นางสุวัฒนา กล่าว

 

ด้าน นายสุนทร อรุณานนท์ชัย ประธานกรรมการบริษัท ซี จี กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป 2,205 ได้ ในพื้นที่ อ.นิคมพัฒนา และ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ซึ่งคาดว่ามูลค่าการลงทุนของโครงการจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยจะมีการพัฒนาพื้นที่ภายในระยะเวลา 3 ปี แบ่งเป็นระยะแรกพื้นที่ 900 กว่าไร่ ซึ่งปัจจุบันมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เสนอให้กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว และคาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนหลังจากนี้ และจะสามารถเริ่มก่อสร้างโครงการเฟส 1 ภายใน ต้นปี 2562 ขณะที่ระยะที่ 2 จะแบ่งพื้นที่ประมาณ 700 ไร่เพื่อพัฒนาภายในปีต่อไป และระยะสุดท้ายพื้นที่ 500 ไร่จะพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในปี 2564

 

ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าให้เกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 60,000 บาท และการจ้างงานไม่น้อยกว่า 20,000 บาท โดยจะเน้นที่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ประเทศจีนมีความชำนาญ อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัจฉริยะ อุตสาหกรรมเครื่องมือการแพทย์ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยคาดว่าทั้ง 3 เฟสแล้วเสร็จจะสามารถรองรับได้ประมาณ 80 โรงงาน ซึ่งจะนำต้นแบบการพัฒนานิคมจากกว่างซีประเทศจีนเข้ามาใช้

 

“อย่างไรก็ตาม การลงทุนนิคมดังกล่าวมีสัดส่วนการถือหุ้นคือ ซี.พี.แลนด์ 50%, บริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป ไชน่า 48% และ บริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป ยีอาน (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้น 2% ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวไม่มีความกังวลถึงประเทศไทยจะมีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมจีนหลายแห่งแล้วก็ตาม เนื่องจากประเทศจีนมีการพัฒนาไปเยอะและมีกลุ่มอุตสาหกรรมหลายรูปแบบ โดยเชื่อว่าไทยมีความเหมาะสมที่สุดในการลงทุน” นายสุนทร กล่าว