IT & SOFTWARE

Digital Enterprise Suite จากซีเมนส์ เปลี่ยนห่วงโซ่การผลิตทั้งระบบสู่รูปแบบดิจิทัล
POSTED ON 08/12/2560


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

 

อุตสาหกรรมอาหารของไทยถือเป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักให้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่ใหญ่ที่สุดของโลก รายรับจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าถึงประมาณ 64 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2,090 ล้านบาท

 

อย่างไรก็ตาม การควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือการผลิตประกอบด้วยองค์ประกอบหลายประการที่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพสินค้าที่ต้องได้รับการควบคุมให้อยู่ในระดับสูงสุดอยู่เสมอ โรงงานผลิตต้องมีความพร้อม มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และศักยภาพในการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอในการตอบสนองความต้องการและข้อกำหนดของลูกค้าแต่ละรายได้

 

และเพื่อให้สิ่งที่เป็นความท้าทายในวันนี้สามารถพัฒนาขึ้นมารองรับเป้าหมายตามความเป็นจริงได้ในอนาคต ย่อมต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนการดำเนินการเข้าสู่รูปแบบดิจิทัล คือ การที่โลกเสมือนจริงและโลกของการทำงานจริงได้ประสานสอดคล้องกันอย่างลงตัว สามารถนำนวัตกรรมมาใช้สร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ สร้างโอกาสเติบโตให้แก่ธุรกิจ ดังนั้น หากผู้ผลิตต้องการที่จะก้าวให้ทันโลก รักษาความได้เปรียบเชิงธุรกิจไว้ให้ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบของความเชื่อมโยงในกระบวนการทางอุตสาหกรรมไปสู่รูปแบบดิจิทัล

 

ทุกวันนี้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีอัตราการเติบโตและอัตราการแข่งขันสูง มีธุรกิจไม่มากนักที่ยังคงสร้างความแตกต่างทิ้งห่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันได้อยู่ ปัจจัยสำคัญคือความอยู่รอดและการสร้างการเติบโต ดังนั้น การปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลจะเข้ามาเป็นพื้นฐานให้แก่องค์กร ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เช่น รับมือกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ทันท่วงที เป็นต้น

 

นายดีทเทอร์ บรอคเคิล รองประธานอาวุโส ฝ่าย Process Industries and Drives, Digital Factory ของซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “เราเห็นการปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัลในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทยมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดปัญหาสำคัญในเรื่องต้นทุนการผลิตและค่าแรงที่สูงขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมนี้ต้องมุ่งสู่แนวทางอุตสาหกรรม 4.0 หลายบริษัทได้เริ่มการปรับเปลี่ยนไปแล้วและอีกหลายแห่งก็กำลังตกอยู่ในสภาวะที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ทุกคนที่ซีเมนส์ต่างมองหาโอกาสให้กับพันธมิตรและลูกค้า ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อนำเอาเทคโนโลยีที่พร้อมแล้วสำหรับวันนี้มาใช้และช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย”

 

ซีเมนส์ นำเสนอโซลูชั่นที่เหมาะสมต่อการปรับเปลี่ยนระบบห่วงโซ่การผลิตสู่รูปแบบดิจิทัล คือ Digital Enterprise Suite ซึ่งจะตอบโจทย์การก้าวเข้าสู่ยุค อุตสาหกรรม 4.0 ได้เป็นอย่างดี สามารถช่วยจัดการขั้นตอนทางธุรกิจให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการนในรูปแบบเดิมหรือในแบบดิจิทัล เสริมขีดความสามารถในการทำงานร่วมกับคู่ค้าได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด โดยเริ่มที่ห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบจนถึงบริการหลังการขาย และสามารถขยายขนาดและรูปแบบได้ตามความต้องการ

 

นายโรแลนด์ เฮย์มานน์ Head of Global Food and Beverage, Technical Account Management ของซีเมนส์ เยอรมนี กล่าวว่า “เรามีพันธมิตรในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มระดับโลกหลายราย ได้เรียนรู้ถึงรูปแบบความต้องการ และแนวโน้มเฉพาะตัวของตลาด เราจึงได้พัฒนาชุดซอฟต์แวร์ระบบดิจิทัลสำหรับองค์กร และเสริมสมรรถนะให้แก่แอพพลิเคชั่น, โซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว รวมทั้งตั้งเป้าหมายที่จะนำโซลูชั่นเหล่านี้ไปใช้ในการขยายตัวและการลงทุนในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มทุกที่ในโลก เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากความรู้ความเชี่ยวชาญของเรา”

 

ชุดซอฟต์แวร์ Digital Enterprise Suite นี้ เป็นชุดซอฟต์แวร์ที่มีความสมบูรณ์แบบ แบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรม สามารถปรับเปลี่ยนระบบห่วงโซ่การผลิตทั้งระบบสู่รูปแบบดิจิทัล ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ การวางแผนและวิศวกรรมการผลิต และการดำเนินการเพื่อการให้บริการ ผลของการเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัลครบวงจรนี้ จึงสามารถที่จะทำสำเนาระบบได้เหมือนราวกับเป็นฝาแฝด ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถที่จะจำลอง, ทดสอบ และเพิ่มเติมประสิทธิภาพในโลกเสมือนได้อย่างเต็มที่ ก่อนที่จะเลือก หรือสรุปรายละเอียดวัตถุดิบหรือทรัพยากรที่จะเลือกใช้ในโลกความเป็นจริง จุดเชื่อมระหว่างโลกเสมือนและความจริงนั้นช่วยลดการสูญเสียเวลาในการวางตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ และยังให้ความยืดหยุ่น คุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีเยี่ยมอีกด้วย

 

นายอเล็กซานเดอร์ กริมม์ Head of Food and Beverage ASEAN ของซีเมนส์ สิงคโปร์ กล่าวว่า “ระบบดิจิทัลเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยังต้องมีวิวัฒนาการต่อไปอีกในอนาคต และได้อรรถาธิบายเพิ่มเติมในรายละเอียดถึงวิธีการที่ลูกค้าจะเข้าใจที่ความต้องการได้มากขึ้น ซึ่งการที่กระบวนการผลิตที่เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบดิจิทัลนั้นจะรองรับความจำเป็นในรูปแบบต่าง ๆ ได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร”

 

ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายน 25602 ที่ผ่านมา ทางซีเมนส์ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “The Future of Manufacturing in Food and Beverage Thailand” โดยทีมงานของซีเมนส์จากทั่วโลกและองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย ต่างส่งผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้เชิงกรณีศึกษาในหัวข้อการนำเทคโนโลยีมาใช้งานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ บุญรอด บริวเวอรี่, ไทยเบฟเวอเรจ, โอสถสภา อินเทอร์เนชั่นแนล, ซีพีเอฟ, เบียร์ ไทย, อุตสาหกรรมแป้งมันกรุงเทพ และ สุราษฏร์ธานี เบฟเวอร์เรช

 

ในงานสัมมนาดังกล่าว ซีเมนส์ได้นำเสนอวิธีการค้นหาความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนองค์กร ในการเข้าสู่ยุคดิจิทัล ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้หัวข้อ “Digitalization – The future of manufacturing in Food and Beverage” และ “Set the pace for digitalization” และได้มีการสาธิตตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางศึกษาเกี่ยวกับ “กระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์กร” รวมทั้งวิธีการลดช่วงเวลาและต้นทุนที่เกิดขึ้นกรณีเครื่องจักรในระบบการผลิตหยุดทำงาน โดยใช้การจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการและขั้นตอนในการทำงานที่มีรูปแบบเฉพาะตัวในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ภาคอุตสาหกรรมนี้จะได้รับจากการปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัล และเห็นถึงองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม เช่น ความอ่อนไหวต่อต้นทุน ความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนรองรับการขยายตัว ที่มีศักยภาพในการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ และรองรับความต้องการตามแนวคิดของลูกค้าได้

 

ส่วนหนึ่งของคำมั่นสัญญาที่ซีเมนส์ให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย รวมถึงการจัดผึกอบรมให้ความรู้จากกรณีศึกษาที่ได้จากนำเอาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ของซีเมนส์ไปใช้ในแต่ละอุตสาหกรรมว่าสามารถปรับเข้ากับกระบวนดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้อย่างไร โดยการฝึกอบรมนั้นจะมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้ความรู้และไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ