IT & SOFTWARE

ไมโครชิป ทวงคืนแชมป์รายได้อันดับหนึ่งไมโครคอนโทรลเลอร์ 8bit
POSTED ON 28/04/2558


 

ไอทีอุตสาหกรรม - เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท การ์ทเนอร์ ได้เผยผลการจัดอันดับประจำปี 2557 โดยระบุว่า ไมโครชิป เทคโนโลยี อิงค์ (NASDAQ : MCHP) ผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นไมโครคอนโทรลเลอร์, สัญญาณผสม, อนาล็อก และแฟลช-ไอพี สามารถทวงคืนตำแหน่งรายได้อันดับหนึ่งของไมโครคอนโทรเลอร์ (MCU) 8 บิท ในขณะที่ผู้จำหน่าย MCU หลายรายได้ให้ความสำคัญกับการจำหน่าย MCU รุ่น 8 บิทน้อยลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ทางไมโครชิปยังคงเดินหน้าปรับปรุงสายผลิตภัณฑ์ MCU 8 บิท, 16 บิท และ 32 บิททั้งหมด ซึ่งผลการจัดอันดับนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่และความพยายามด้านนวัตกรรมในสายผลิตภัณฑ์ ไมโครคอนโทรเลอร์ 8-bit PIC ของบริษัทฯ

 

ทั้งนี้ รายงานประจำปี 2557 ของการ์ทเนอร์ระบุว่า ไมโครชิปสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้อย่างต่อเนื่องในผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 รุ่น สำหรับตลาด MCU 16 บิท นั้น ไมโครชิปเป็นซัพพลายเออร์ที่เติบโตเร็วที่สุดในบรรดาบริษัทที่ติดอันดับท็อป 10 ในปี 2557 โดยบริษัทฯเติบโตเร็วกว่าบริษัทท็อป 10 ทุกแห่งกว่า 2 เท่า ในขณะที่ MCU 32 บิทของไมโครชิปสามารถทะลุสู่ระดับซัพพลายเออร์ท็อป 10 เป็นครั้งแรกในปี 2557 จากส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น 42.3%

 

นายสตีฟ ซางฮี ประธานและซีอีโอไมโครชิป กล่าวว่า "เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ไมโครชิปสามารถทวงคืนตำแหน่งอันดับหนึ่งด้าน MCU 8 บิทได้อีกครั้ง ซึ่งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เราถูกโค่นตำแหน่งอันดับหนึ่งด้าน MCU 8 บิท จากการควบรวมกิจการของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของญี่ปุ่นถึง 3 บริษัท ซึ่งได้แก่ เอ็นอีซี ฮิตาชิ และมิตซูบิชิ ในชื่อบริษีท เรเนซัส (Renesas) ในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัทฯประกาศว่าจะทำงานอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและชิงตำแหน่งอันดับหนึ่งคืนมา จากการรวมกิจการของ 3 บริษัทในปี 2553 นั้น ธุรกิจ MCU 8 บิทของเรเนซัสมีขนาดใหญ่กว่าเรา 41% นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ในทุกๆ ปีบริษัทฯก็สามารถปิดช่องว่างนี้ได้สำเร็จ และในปี 2557 เราก็สามารถทวงตำแหน่งผู้นำได้อีกครั้ง โดยครองส่วนแบ่งได้สูงกว่าเรเนซัส 10.5%"

 

PIC MCU 8 บิทเปิดทางให้นักพัฒนามีแนวทางการย้ายระบบจาก 6 พิน ไป 100 พินได้อย่างง่ายดาย โดยแก้ไขโค้ดเพียงนิดเดียวหรือไม่จำเป็นต้องแก้ไขโค้ดใดๆ สายผลิตภัณฑ์ MCU นี้ นำเสนอตระกูลผลิตภัณฑ์ที่มีการผนวกรวมเชิงอัจฉริยะในระดับต่างๆ กัน อาทิ แม่ข่ายของ Core Independent Peripheral โดยไม่จำเป็นต้องแทรกแซงการทำงานของซีพียูเลยหรือแทรกแซงเพียงเล็กน้อย ทำให้คอร์ของคอมพิวเตอร์สามารถรันระบบการทำงานอื่นๆ ได้

 

นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ถูกรวมเข้ามาด้วย นั่นคือ อุปกรณ์เสริม Intelligent Analog ซึ่งประกอบด้วย ออปแอมป์, อุปกรณ์เปรียบเทียบ, ADC, DAC และ CTMU รวมถึงอุปกรณ์เสริมฮิวแมนอินเทอร์เฟส สำหรับหน้าจอ LCD และ mTouch หรือระบบรับการสัมผัสแบบ capacitive ตลอดจนช่องทางการสื่อสารสำหรับอีเธอร์เน็ต, I2C SPI, USB, CAN และ LIN (EUSARTs) ขณะที่ปลั๊กอิน MPLAB Code Configurator ของ IDE จากไมโครชิปช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากการผนวกรวมทั้งหมดนี้ได้อย่างง่ายดาย โดยการสร้างโค้ด C ได้อย่างราบรื่นและเข้าใจง่าย เพื่อเพิ่มเข้าไปในโครงการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

 

PIC MCU 8 บิท และ 16 บิท ของไมโครชิป ได้ผสมผสานประสิทธิภาพการทำงานในระดับสูง ต้นทุนที่ต่ำ และระบบอนาล็อกที่สมบูรณ์ ตลอดจนการผนวกรวมอุปกรณ์เสริมดิจิตอลและบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อนำเสนออัตราส่วนราคา/ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีสุดในอุตสาหกรรม PIC MCU ซึ่งมาพร้อม เทคโนโลยี Extreme Low Power (XLP) มีอัตราการใช้ไฟต่ำที่สุดในอุตสาหกรรมและฟีเจอร์การใช้ไฟในระดับต่ำที่ทันสมัยที่สุด ได้แก่ กระแสไฟโหมด Sleep ซึ่งลดลงมาอยู่ที่ 9 นาโนไมโครแอมป์ (nA) และกระแสไฟในโหมดทำงาน (Active Mode) ลดลงมาอยู่ที่ 30 ไมโครแอมป์/เมกะเฮิร์ตซ์ ส่งผลให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่อยู่ได้นาน 20 ปีขึ้นไป

 

ตระกูล PIC32 ของ MCU 32 บิท คือส่วนต่อยอดของผลิตภัณฑ์ PIC MCU และอุปกรณ์ควบคุมสัญญาณดิจิตอล (DSC) dsPIC รวมกันมากกว่า 1,200 รายการ ลูกค้าสามารถใช้ MPLAB X Integrated Development Environment (IDE) ซึ่งใช้ได้กับหลายอุปกรณ์ ในการออกแบบการใช้งานโดยใช้ผลิตภัณฑ์ PIC MCU 8, 16 และ 32 บิท และ DSC ได้ทั้งหมด รวมถึงอุปกรณ์หน่วยความจำบางรุ่น ไมโครชิปยังเป็นบริษัทเพียงแห่งเดียวที่รองรับ MCU และ DSC ที่ได้มาตรฐานทั้งหมดจาก IDE แบบเดี่ยว