IT & SOFTWARE

หัวเว่ย เปิดตัวโซลูชั่น Digital Railway 2.0
POSTED ON 26/09/2557


ไอที - หัวเว่ย (Huiwei) เผยโฉมโซลูชั่น Digital Railway 2.0 รุ่นใหม่ ณ นิทรรศการการค้าเทคโนโลยีการขนส่งระหว่างประเทศ InnoTrans 2014 ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ส่วนประกอบหลักของโซลูชั่นนี้ ประกอบไปด้วย โซลูชั่น Dual-Mode eLTE Cab Radio ที่ร่วมกันพัฒนากับ Funkwerk AG และระบบ GSM-R ที่มุ่งรองรับอนาคตของหัวเว่ย โซลูชั่น Digital Railway 2.0 ผสมผสานฟังก์ชันการทำงานของ Digital Railway 1.0 ของหัวเว่ยเข้ากับเทคโนโลยีไอซีทีที่เปี่ยมนวัตกรรม อาทิ การสร้างเครือข่าย Agile Network การประมวลผลด้วยคลาวด์ และการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในองค์กร (BYOD)

 

นอกจากนี้ ในงาน InnoTrans 2014 หัวเว่ยยังได้จัดแสดงโซลูชั่นไอซีทีที่แปลกใหม่อื่นๆ สำหรับการเดินรถไฟ ภายใต้หัวข้อ “การเดินรถไฟที่เชื่อมต่อกันดีขึ้น” (A Better Connected Railway)

 

นายแดนนี หวัง ประธานแผนกการขนส่งของหัวเว่ย เอ็นเทอไพรซ์ บิสิเนส กรุ๊ป กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่นไอซีทีการขนส่งทางรถไฟที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมมาตั้งแต่ปี 2539 หัวเว่ยได้จัดหาโซลูชั่นสำหรับการเดินรถไฟทั่วโลกรวมความยาวกว่า 84,500 กิโลเมตร เราได้ผนึกความร่วมมือกับพันธมิตรกว่า 50 ราย และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเพื่อสร้างทางเดินรถไฟที่มีการเชื่อมต่อดีขึ้น จนสามารถยกระดับการเชื่อมต่อของการเดินรถไฟ ในหมู่ประชาชน และการเดินรถไฟกับผู้โดยสาร”

 

โซลูชั่น Huawei Digital Railway 2.0 พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ให้บริการทางรถไฟสามารถรับมือกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของการขนส่งทางบก ซึ่งเกิดจากปัจจัยอย่างการสร้างเขตเมืองและโลกาภิวัฒน์ โซลูชั่น Digital Railway 2.0 เปิดทางให้ผู้ให้บริการทางเดินรถไฟสร้างเครือข่ายการดำเนินงานและการสื่อสาร 4G และ all-IP ตลอดจนการพัฒนา Fusion Operation & Command Centers (OCCs) ที่มุ่งเน้นบริการและทำงานบนคลาวด์ และสร้างฐานที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนใช้เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายตั้งแต่บนรถไฟจนถึงภาคพื้นโดยอาศัยเครือข่าย LTE ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสามารถและศักยภาพการแข่งขันของผู้ให้บริการทางเดินรถไฟดีขึ้น ขณะที่ทางเดินรถไฟจะมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

 

ในบางส่วนบางตอนของงานนี้ หัวเว่ยและ Funkwerk แสดงการสาธิต eLTE Cab Radio ที่บริษัททั้งสองร่วมกันพัฒนาให้เห็นกันแบบสดๆ เป็นครั้งแรกอีกด้วย สำหรับโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์การสื่อสารสำหรับทางเดินรถไฟนี้ เป็นโซลูชั่นเดียวในตลาดไอซีทีการขนส่งทางรถไฟที่รองรับทั้งเครือข่าย GSM-R และ LTE นอกเหนือจากการให้บริการเครือข่าย GSM-R แบบเดิมแล้ว Cab Radio ยังสามารถมอบบริการสื่อสารด้วยเสียง วีดีโอ และปริมาณอินเทอร์เน็ต สำหรับการสังเกตการณ์ผ่านวีดีโอแบบสดโดยใช้เทคโนโลยี LTE การเปิดทางให้ผู้ให้บริการทางเดินรถไฟใช้งานเทคโนโลยีเครือข่ายได้ทั้ง 2 แบบ ทำให้โซลูชั่นนี้สนับสนุนวิวัฒนาการแห่งการสื่อสารแบบไร้สายของการเดินรถไฟตั้งแต่ GSM-R จนถึง LTE เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ผู้โดยสาร

 

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเปิดตัว Single Cabinet (SC) Core Network รุ่น eCNS300 และ SDR Base Station รุ่น BTS3900 ซึ่งต่างเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นเรือธงในบรรดาผลิตภัณฑ์เรือธงด้านระบบ GSM-R ทั้งหมดของบริษัท SC Core Network รุ่น eCNS300 ใช้สถาปัตยกรรมประมวลผลโทรคมนาคมขั้นสูงที่รวมเข้ากันเป็นหน่วยเดียว (ATCA) และผนวกรวมหน่วยเครือข่ายจำนวน 3 หน่วย ด้วยโซลูชั่นนี้ ผู้ให้บริการทางเดินรถไฟสามารถประหยัดเนื้อที่ห้องเครื่อง ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และเอื้อต่อการแปลงสภาพเทคโนโลยีจาก GSM-R ไปสู่ LTE ขณะที่ SDR Base Station รุ่น BTS3900 ของหัวเว่ยยังตรงกับมาตรฐาน Third Generation Partnership Project (3GPP) ซึ่งเป็นมาตรฐานล่าสุด และมาตรฐาน European Telecommunications Standards Institute (ETSI) นอกจากนี้ SDR Base Station รุ่น BTS3900 ยังเป็นไปตามข้อกำหนด GSM-R อย่างเข้มงวดและรองรับการเปลี่ยนจากเทคโนโลยี GSM-R สู่ LTE ในอนาคต

 

หัวเว่ยอยู่แถวหน้าด้านการใช้เทคโนโลยี LTE สำหรับอุตสาหกรรมการเดินรถไฟมาโดยตลอด บริษัทฯ ส่งมอบ Digital Railway Solution ให้แก่สถานีรถไฟใต้ดินเจิ้งโจว เพื่อเปิดใช้เครือข่าย LTE เพื่อการเดินรถไฟเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2556 ขณะที่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 หัวเว่ย และ Bombardier ผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมการเดินรถไฟ ได้ร่วมลงนามข้อตกลงเชิงพาณิชย์ด้านการเดินรถไฟระดับภูมิภาคของ European Rail Traffic Management System (ERTMS) ครั้งแรกของแอฟริกา กับบริษัท Zambia Railways Limited (ZRL) ด้วยความร่วมมือที่เปิดกว้างและนวัตกรรมร่วมกันของลูกค้าและพันธมิตรในวงการ ทำให้หัวเว่ยเดินหน้าสู่อนาคตแห่งการเดินรถไฟที่เชื่อมต่อกันดียิ่งขึ้นต่อไปได้