EVENT & SEMINAR

SEED จัดการประชุมเชิงวิชาการ SEED Symposium 2020 พร้อมผลักดันธุรกิจให้เป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขีย
POSTED ON 21/01/2563


Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics

 

งานประชุมเชิงวิชาการ SEED Symposium 2020 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมันในการส่งเสริมธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจสีเขียว ให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้ประกอบการไทยได้รับรางวัลในสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100% จากผลิตภัณฑ์กระดาษจากฟางข้าวโดยชุมชนท้องถิ่น จากผู้ประกอบการที่สมัครเข้าแข่งขันจำนวน 906 ราย ใน 9 ประเทศ โดยมีผู้เข้าแข่งขันแบ่งเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตร คิดเป็นร้อยละ 43% รองลงมา ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 21% ผู้ประกอบการด้านพลังงาน คิดเป็นร้อยละ 16% และผู้ประกอบการอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 20% พร้อมผลักดันให้เข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขียว

ดร.เลวิส อาเคนจิ ผู้อำนวยการบริหาร SEED กล่าวว่า SEED ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาของผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อโดยสนับสนุนผู้ประกอบการและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมผลักดันให้เข้าสู่การดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจสีเขียว โดยในปี 2019 มีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ 906 ราย จาก 9 ประเทศ จากประเทศในทวีปแอฟฟริกา จำนวน 690 ราย และภูมิภาคเอเชีย จำนวน 216 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้สมัครจากประเทศไทย จำนวน 38 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตร คิดเป็นร้อยละ 43% รองลงมา ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 21% ผู้ประกอบการด้านพลังงาน คิดเป็นร้อยละ 16% และผู้ประกอบการอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 20% ตามลำดับ ดร.เลวิส กล่าวต่อว่า ในปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขียวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมาตรการนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดเป้าหมายให้มีการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพธุรกิจบริการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตลอดจนสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย ทำให้องค์กรขนาดเล็กที่กำลังเติบโตสามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ประกอบการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวเพิ่มมากขึ้น โดยการประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐ อาทิ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งได้นำเสนอโครงการพัฒนาเชิงบูรณาการที่หลากหลาย การเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี และความร่วมมือกับกิจการขนาดเล็ก หรือ Tech Startup เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาภาคเกษตรและชุมชน

คุณจารุวรรณ คำเมือง ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ หจก.ฟางไทย แฟตอรี่ ผู้รับรางวัลชนะเลิศบรรจุภัณฑ์ทำจากกระดาษฟางข้าวโดยชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่า หลังจากที่เข้าร่วมโครงการกับ SEED ในการให้คำปรึกษาด้านแผนธุรกิจ การติดตามพัฒนาการและขยายผลการดำเนินการ ทำให้สามารถเข้าใจเกี่ยวกับหลักการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ในการขยายตลาด เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้าธุรกิจของตนมากขึ้น

คุณจารุวรรณ กล่าวต่อว่า เนื่องจากเกษตรกรในชุมชนหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว มักจะใช้วิธีการเผาฟางข้าว ซึ่งก่อปัญหาการปล่อยควันและก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ เพื่อเปลี่นจากของเสียเป็นโอกาส เธอจึงตัดสินใจที่จะทำกระดาษย่อยสลายได้ 100% จากฟางข้าว อีกทั้งยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร จึงกำเนิดเป็นบรรจุภัณฑ์ทำจากกระดาษฟางข้าว นำขยะจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาแปรรูปเป็นกระดาษ กล่อง บรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน โดยทางฟางไทยหวังว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนและมีส่วนร่วมในธุรกิจรักษาสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้

SEED ได้เห็นความสำคัญของรางวัล "SEED Award" เพราะมีกระบวนการทำงานร่วมกันแบบเป็นหุ้นส่วน เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาแบบมุ่งเน้นอนาคต เราเชื่อมั่นว่าธุรกิจที่ชนะรางวัลจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนด้วยวิธีแก้ปัญหาที่สามารถปรับใช้ได้จริง และสามารถต่อยอดเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลกต่อไป สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.seed.uno หรือแฟนเพจเฟชบุ๊ก facebook.com/seed.uno