ENVIRONMENT

องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเลเผย มาตรฐานการใช้พลาสติกรีไซเคิล และการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต
POSTED ON 25/10/2562


 

 

องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ด้วยความร่วมมือกับ Trash Free Seas Alliance(R) เผยแพร่รายงานเรื่อง "Plastics Policy Playbook: Strategies for a Plastic-Free Ocean" ในการประชุม Our Ocean Conference ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ในสัปดาห์นี้

รายงานดังกล่าวอ้างอิงงานวิจัยที่ได้จากการค้นคว้าเอกสาร การประชุมเชิงปฏิบัติการในประเทศ และการสร้างแบบจำลองทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ รายงานฉบับนี้จึงเป็นคู่มือแนะแนวเชิงลึกสำหรับการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคเอกชนที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในขณะนี้ เพื่อจัดการกับปัญหามลภาวะพลาสติกในหลายพื้นที่ของโลกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตการณ์นี้ รายงานฉบับที่สามนี้เป็นบทวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีหาเงินทุนสนับสนุนการจัดเก็บขยะพลาสติก เพื่อให้พลาสติกไม่ลอยอยู่กลางทะเลอีกต่อไป โดยประเด็นสำคัญมีดังนี้: เกี่ยวกับองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล

 

"เรามองเห็นถึงความสนใจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากทั้งผู้นำรัฐบาลและภาคธุรกิจ ในการเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน และการจัดการกับขยะพลาสติกในท้องทะเล แต่เนื่องจากความเคลื่อนไหวดังกล่าวต้องการการมีส่วนร่วมอย่างมาก ตั้งแต่การออกคำสั่งห้ามไปจนถึงการเก็บภาษีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ และทุกสิ่งทุกอย่างในระหว่างทาง การดำเนินการให้เกิดผลจึงยังคงเป็นเรื่องท้าทาย" เจนิส เซียร์เลส โจนส์ ซีอีโอขององค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล กล่าว "เราหวังว่า รายงานฉบับนี้ ซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลและงานวิจัย จะทำหน้าที่เป็นคู่มือนโยบายสำหรับการหาทางออกอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล"

 

รายงาน "Plastics Policy Playbook" ฉบับใหม่นี้ เป็นการขยายความจากรายงานบทสรุป (white paper) ฉบับก่อนๆ ที่องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเลได้เผยแพร่ในส่วนที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ของการเก็บขยะพลาสติก โดยในปี 2015 องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเลได้เผยแพร่รายงาน"Stemming the Tide" ซึ่งต่อยอดมาจากรายงานวิจัยเชิงสัมมนาโดยดร.เจนนา แจมเบ็ค และคณะนักวิจัย ซึ่งพบว่า 75% ของขยะพลาสติกในทะเลไม่เคยถูกเก็บตามระบบบริหารจัดการขยะอย่างเป็นทางการ และขยะ 60% มีต้นกำเนิดมาจาก 5 ประเทศในเอเชียที่ถูกจับตา ซึ่งได้แก่จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ส่วนรายงานฉบับที่สองที่ชื่อว่า "The Next Wave" ระบุว่า การเก็บขยะในประเทศเหล่านี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนไม่เพียงพอ และเป็นกิจกรรมที่มีต้นทุนสุทธิ ทั้งนี้ การจัดเก็บขยะนอกจากจะเป็นกุญแจสำคัญต่อการยุติมลภาวะพลาสติกในระยะใกล้แล้ว ยังมีความสำคัญต่อการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่วัสดุต่างๆ จะถูกนำมาฟื้นฟูและนำมาใช้ซ้ำอย่างต่อเนื่อง แทนที่จะกลายเป็นขยะ

• ช่องว่างทางการเงินสุทธิสำหรับการจัดเก็บขยะพลาสติกใน 5 ประเทศดังกล่าว อยู่ที่ 28-40 ดอลลาร์ต่อตัน • เพื่อลดช่องว่างทางการเงินและแน่ใจได้ว่าขยะทั้งหมดถูกจัดเก็บ การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (หรือ EPR) ซึ่งดำเนินการผ่านค่าวัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่ผู้ผลิตต้องจ่ายโดยขึ้นอยู่กับจำนวนวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาด หรือเป้าหมายการรีไซเคิล/เก็บกู้พลาสติก สามารถมีศักยภาพสูงสุดในการลดช่องว่างทางการเงินดังกล่าวได้ถึง 75% • ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับพลาสติกรีไซเคิลที่ผ่านมาตรฐานส่วนผสมที่รีไซเคิลแล้วนั้น มีโอกาสที่จะทำให้ช่องว่างทางการเงินสำหรับการจัดเก็บขยะในขณะนี้ลดลงได้ถึง 34% • การห้ามใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว ซึ่งไม่มีความจำเป็นและสร้างปัญหา (โดยเฉพาะถุงใส่ของที่ทำจากพลาสติก หลอดและที่คนเครื่องดื่มที่ทำจากพลาสติก ถ้วยและฝาปิดพลาสติก ช้อนส้อมพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหาร วัสดุพลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพีวีซี และไมโครพลาสติกตั้งต้น) สามารถปรับปรุงการจัดเก็บขยะได้ด้วยการลดการปนเปื้อนของของเสียที่เกิดขึ้นหลังการใช้งาน

"รายงานดังกล่าวยืนยันสิ่งที่เราสงสัยมานาน ซึ่งก็คือเราต้องมีชุดทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในทะเล และทุกคนมีบทบาทที่ต้องแสดง" เชเวอร์ โวลต์เมอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานด้านขยะพลาสติกขององค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล กล่าว "ข่าวดีก็คือ เรากำลังเห็นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการเตรียมพร้อมและความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วม ซึ่งเราก็เห็นด้วยตัวเองในการจัดทำรายงานฉบับนี้ร่วมกับพันธมิตรรายสำคัญจาก Trash Free Seas Alliance"