BUSINESS

เขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่ง เริ่มการลงทุนขั้นที่ 2
POSTED ON 22/06/2563


 

 

เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่ง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่ง ได้ออกมาเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภูมิภาคแห่งนี้ มีการเติบโตขึ้นจาก 1.002 แสนล้านหยวน มาเป็น 3.391 แสนล้านหยวน ในช่วงปี 2010 ถึงปี 2019 ครองอันดับที่ 4 ในบรรดาเขตเศรษฐกิจใหม่ทั้ง 19 เขตทั่วประเทศจีน

ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิดเรื่องการเปิดกว้างได้เข้ามาหยั่งรากลึกในทุกแง่มุมของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในพื้นที่แห่งนี้

ในเดือนพฤศจิกายน 2019 สภาแห่งรัฐได้อนุมัติให้ยกระดับการเปิดเสรีมากขึ้นบริเวณท่าเรือกว่อหยวนในนครฉงชิ่งเพื่อให้พื้นที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นเขตการค้าเสรี จนทำให้บริเวณนี้เติบโตขึ้นจากที่เคยเป็นเพียงพื้นที่กองเก็บสินค้าริมฝั่งแม่น้ำแยงซีมาเป็น “ศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า” ระดับโลก และเป็นจุดเชื่อมต่อทางกายภาพที่สำคัญระหว่างโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) กับโครงการแนวเขตเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Economic Belt) เรื่องราวของท่าเรือกว่อหยวนนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปิดกว้างเข้าสู่ดินแดนจีนตอนในและการมีส่วนร่วมในตลาดโลกของนครฉงชิ่ง

การขนส่งที่สะดวกสบายดึงดูดโครงการระดับสูงโครงการแล้วโครงการเล่าเข้าสู่นครฉงชิ่ง เพื่อสร้างข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ให้กับเขตเศรษฐกิจระดับชาติแห่งใหม่ รวมถึงโครงการสาธิตความร่วมมือจีน-สิงคโปร์ และโครงการนำร่องเขตการค้าเสรีฉงชิ่ง เขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่ง กำลังดำเนินการปฏิรูปและเร่งความเร็วในการก่อสร้างโครงการสำคัญทั้ง 4 โครงการ ได้แก่ ท่าเรือกว่อหยวน, เขตท่าเรือสินค้าทัณฑ์บน, ศูนย์กลางการเงินนานาชาติเจียงเปยจุ่ย และเมืองแห่งการจัดประชุมและนิทรรศการเยวี่ยไหล

ผลลัพธ์จากการพัฒนาการเปิดกว้างสู่ดินแดนจีนตอนใน ทำให้เขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่ง ดึงดูดการลงทุนจำนวนมากจากต่างประเทศ ผ่านโครงการความร่วมมือต่าง ๆ เช่น ศูนย์ความร่วมมือนานาชาติเหลี่ยงเจียง ฉงชิ่ง ตลอดจนสวนอุตสาหกรรมจากความร่วมมือจีน-สิงคโปร์, จีน-เยอรมนี, จีน-สวิตเซอร์แลนด์, จีน-อิตาลี, จีน-ญี่ปุ่น, จีน-เกาหลีใต้ และจีน-อิสราเอล

ปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่ง กำลังเตรียมเริ่มลงทุนขั้นที่ 2 อันเป็นผลมาจากกลยุทธ์ระดับประเทศ เช่น การพัฒนาวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่ง หรือ "Chengdu-Chongqing Economic Circle" และแผนพัฒนาภูมิภาคตะวันตกในยุคใหม่ ภายใต้เป้าหมายที่จะเปิดประตูสู่ดินแดนจีนตอนในและกลายมาเป็นจุดหมายการลงทุนที่สำคัญของโลก

เขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่ง ได้สร้างระบบการผลิตชั้นสูงโดยมีอุตสาหกรรมหลัก 4 ประเภท ได้แก่ ยานยนต์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิก การผลิตอุปกรณ์ และการแพทย์แผนตะวันตก ซึ่งมีมูลค่าการผลิตคิดเป็น 43% ของมูลค่าอุตสาหกรรมทั้งหมด ขณะเดียวกันทางเขตก็ได้มีการจัดตั้งระบบอุตสาหกรรมบริการที่ทันสมัย รวมถึงการเงิน โลจิสติกส์ การค้าบริการ พาณิชย์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการจัดแสดงสินค้า โดยมีมูลค่าที่เพิ่มเข้ามาของอุตสาหกรรมตติยะภูมิแตะที่ระดับ 2.319 แสนล้านหยวน

เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถจากทั่วโลก เขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่งได้รับการอนุมัติให้เป็นเขตสาธิตนวัตกรรมระดับชาติและฐานการสาธิตนวัตกรรมและผู้ประกอบการระดับชาติ โดยมีแพลตฟอร์มสรรหาผู้มีความสามารถพิเศษมากมาย รวมถึง โครงการบุกเบิกนักศึกษาจากต่างประเทศสู่เขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่ง ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศที่อยู่ในสมาคมศิษย์เก่านักศึกษาจีนในประเทศตะวันตก (Western Returned Scholars Association) ตลอดจนผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมและผู้มีความสามารถพิเศษที่อยู่ต่างประเทศได้กลับมาเข้ามาทำงานในเขตเศรษฐกิจแห่งนี้